วันพุธที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2560

เคล็ดวิชาเปลี่ยนเส้นเอ็น


ในภาพอาจจะมี หนึ่งคนขึ้นไป และ ผู้คนกำลังนั่ง

  • +++++ เคล็ดวิชาเปลี่ยนเส้นเอ็น +++++
  • เคล็ดวิชาเปลี่ยนเส้นเอ็นมีสองส่วนคือ ส่วนที่เป็นการฝึกลมปราณ และส่วนที่เป็นกระบวนท่าในการฝึก 
  • ในส่วนที่เป็นการฝึกลมปราณนี้ จะกล่าวถึงเคล็ดการแปรเปลี่ยน ใช้หลักการเล่นแร่แปรธาตุ 
  • เปลี่ยนวิชามารก็ดี กิเลสก็ดี ให้ตรงทางพุทธทั้งหมด ซึ่งค่อนข้างล้ำลึกและพิสดารมาก เพราะสามารถแปรเปลี่ยนวิชามารหลายๆ วิชา มาเป็นวิชาทางพุทธได้ 
  • ดังนั้น จึงไม่ขออธิบายมาก แต่บอกไว้แค่ว่าเป็นหลักการเล่นแร่แปรธาตุ แปรเปลี่ยนสิ่งที่นอกทางให้ตรงทางพุทธ
  • ส่วนเคล็ดกระบวนท่าในการฝึกนั้น ท่านตั๊กม้อใช้ "โยคะอินเดีย" มาเป็นพื้นฐาน แล้วพัฒนาเข้ากับหลักเต๋า คือ หยินหยาง 
  • กล่าวคือ ท่านตั๊กม้อค้นพบว่าการทำสมาธิแบบนิ่ง ทำให้เกิดการแช่ดอง นิ่งเกินไปก็ไม่เกิดปัญญา 
  • ดังนั้น ท่านจึงปรับให้มีการนิ่งสลับการเคลื่อนไหวเพื่อให้คลายการแช่ดองในสมาธิที่มากเกินไป 
  • ดังนั้น จึงกลายเป็นหลักเต๋า หยินหยาง ระหว่างความนิ่งและความเคลื่อนไหว 
  • เหมือนการยิงธนู เมื่อดึงคันธนูถึงที่สุดก็คือ "นิ่งที่สุด" ตอนนั้นพลังสะสมข้างในจะมากที่สุด 
  • เมื่อปล่อยความนิ่งก็ดับลง ก่อเกิดการเคลื่อนไหวที่มีพลังและความเร็วสูงสุดดุจลูกธนู 
  • เช่น การปล่อยหมัดและฝ่ามือ จะไม่คิดเหมือนว่าเรากำลังง้างมือชกใคร แต่จะคิดว่าเรารวมพลังความนิ่งให้มากที่สุด 
  • ถึงที่สุดดุจง้างคันธนู จากนั้นก็ปล่อยออกไปให้พุ่งออกจากตัวเหมือนลูกธนูฉะนั้น 
  • การฝึกโดยมีท่าโยคะทำให้เราเห็นท่าฝึกของพระวัดเส้าหลินมีการดัดตัวอ่อนนิ่งอยู่นานมากๆ 
  • นี่ละครับ วิชาเปลี่ยนเส้นเอ็น ซึ่งเน้น "ความยืดหยุ่น" และความสมดุลของการนิ่งและการเคลื่อนไหวเป็นสำคัญ 
  • การปล่อยหมัดจึงเหมือนเราไม่ได้ใช้แรงเลย แค่ "ปล่อย" ให้พุ่ง ออกไปเฉยๆ เหมือนปล่อยลูกธนูเท่านั้นเอง
  • วิชาไทเก็ก ใช้หลักของวิชาเปลี่ยนเส้นเอ็นบางส่วนไปปรับปรุงเพื่อสร้างวิชาใหม่เป็นไทเก็ก 
  • โดยใช้หลัก "ความยืดหยุ่น" เหมือนกันคือ ไทเก็กจะว่างภายใน ภายนอกยืดหยุ่นอ่อนโยน เหมือนลูกโป่ง 
  • ตรงนี้ ตรงข้ามกับวิชาร่างระฆังทองของเส้าหลิน ที่ภายในจะว่าง แต่วิชาร่างระฆังทอง ภายนอกจะแข็งแกร่งดุจระฆังทองไงละครับ 
  • ความแตกต่างอีกข้อคือ ไทเก็กไม่ใช้แรงตัวเองเป็นหลัก แต่ใช้แรงของศัตรูเป็นหลัก 
  • เป็นหลักการยืมแรงจากภายนอก ซึ่งไม่ใช่หลักวิชาของเส้าหลินที่เน้นใช้พลังภายใน 
  • เพราะเป็นหลักของวิชาเก้าอิมบางส่วนที่ท่านจางซานฟงได้นำเอาสองอย่างมาผสมผสานกันครับ 
  • วิชาของบู๊ตึ้งจึงมีความยืดหยุ่นอ่อนโยนกว่าวิชาของง้อไบ๊ ที่ค่อนข้างแข็งกร้าว ด้วยวิชาของง้อไบ๊มีรากฐานมาจากคัมภีร์เก้าอิม ที่ฝึกพลังเย็นแข็งครับ
  • เล้งหูชง ได้เคล็ดวิชานี้ เฉพาะส่วนที่เป็นการฝึกลมปราณนะครับ
  • เมื่อเล้งหูชง ได้ทั้งวิชาเปลี่ยนเส้นเอ็น และมหาเวทย์ดูดดาว ผลคือ แทนที่ดูดพลังมาแล้วใช้ไม่ได้ต้องสลายพลังแบบมหาเวทย์ดูดดาว ก็ไม่ต้องสลายพลังไปแล้วครับ 
  • ใช้เคล็ดเปลี่ยนเส้นเอ็นแปรเปลี่ยนพลังเป็นทางพุทธได้หมดเลย จึงมีอานุภาพมากกว่าไทเก๊ก 
  • เพราะไทเก๊กจะยืมแรงคู่ต่อสู้ได้ขณะสู้กับคู่ต่อสู้เท่านั้น แต่มหาเวทย์ดูดดาว อาจดูดพลังคู่ต่อสู้แบบไม่ทันรู้ตัว หรือไม่ใช่ขณะต่อสู้ก็ได้
  • แถมดูดพลังแล้วพลังมาเสริมตัวเอง ไม่เหมือนไทเก๊กที่ไม่ได้ดูดพลังแต่ยืมแรงศัตรูสะท้อนกลับไปเท่านั้นเอง มันจึงกลายเป็นวิชาใหม่ไปโดยปริยายครับ
  • วิชา "เทควันโด้" ของเกาหลี และ "คาราเต้" ของญี่ปุ่น ล้วนพัฒนามาจากเคล็ดวิชาเปลี่ยนเส้นเอ็น และวิชาเก้าเอี๊ยงเป็นสำคัญ 
  • วิชาเทควันโด้มาจากวิชาเปลี่ยนเส้นเอ็น ท่าเตะบางท่าจะต้องมีเส้นเอ็นที่ยืดหยุ่นมาก จึงจะสามารถเตะได้สูงตามท่านั้นได้ครับ 
  • ส่วนคาราเต้นั้น จะใช้พลังเก้าเอี๊ยง ใช้พลังออกจากท้อง (ตันเถียน) ยิงหมัดออกไป 
  • ฟังดีๆ นะครับ "ยิงหมัด" ไม่ใช่การใช้แรงกายเหวี่ยงหมัด ไม่ใช่การง้าง การฟาด การชก แต่เป็นการระเบิดพลังที่ท้องน้อยเหมือนปืนที่ระเบิดพลัง แล้วดันให้ลูกปืนพุ่งออกไป 
  • ซึ่งชายก็ได้เคยฝึกทั้งคาราเต้และเทควันโด้มาก่อนหน้านี้แล้วครับ
  • ข้าพเจ้าขอตั้งจิตอธิษฐานอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลแก่
  • "มูน" กระต่ายของข้าพเจ้าซึ่งถูกกัดตาย มูนมาทำหน้าที่เป็นน้องชายของต่วย เขาถูกต่วยกัดเป็นแผลใหญ่ ทำให้พี่สาวข้างบ้านคนหนึ่งมาเห็นเข้า 
  • ปกติชายห่างเหินกับพี่สาวคนนี้มานาน ความเจ็บป่วยของมูนจึงกลายเป็นสะพานเชื่อมสัมพันธ์ความเป็นพี่น้องของชายกับพี่สาวคนนี้ 
  • มูนได้ทำหน้าที่น้องชายได้สมบูรณ์อย่างยิ่งแล้ว กระทู้นี้ หากมีผลบุญด้วยวิทยาทานก็ดี ธรรมทานใดก็ดี 
  • ข้าพเจ้าจึงอุทิศให้มูนนั้นได้หลุดพ้นเป็นเทพ เพื่อจะได้บำเพ็ญบารมีร่วมกับข้าพเจ้าต่อไป
  • สาธุ ...

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น