วันจันทร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

สมาธิแห่งพระวัชรสัตว์เพื่อชำระล้างกรรม

ไม่มีข้อความกำกับภาพอัตโนมัติ

  • #การขอขมากรรมในบทปฏิบัติขององค์วัชรสัตโต นั้นถือว่าเป็นการขอขมากรรมขั้นสูงสุด เพื่อเข้าสู่พุทธภูมิ
  • สมาธิแห่งพระวัชรสัตว์เพื่อชำระล้างกรรม 
  • ( Vajrasattva Meditation for Karmic Purification )
  • พระวัชรสัตว์( Vajrasattva ) คือ พระพุทธเจ้าในพุทธศาสนาแบบตันตระยาน หรือ วัชรยาน หรืออาจจะเรียกว่าพุทธศาสนาแบบทิเบต ถือว่า ท่านคือพุทธสภาวะที่อยู่เหนือต่อ
  • กาละและเวลา ท่านเป็นพระพุทธเจ้าองค์ปฐม ( อาทิพุทธเจ้า ) ซึ่งบริสุทธิ์สะอาด ปราศจากมลทินและบาปอกุศลทั้งปวง และเป็นธรรมชาติของพุทธะที่มีอยู่ในเหล่าสรรพสัตว์ ตั้งแต่เริ่มแรก
  • พระวัชรสัตว์ทรงได้อธิษฐานว่า เมื่อพระองค์ตรัสรู้อย่างสมบูรณ์แล้ว ขอให้สรรพสัตว์ได้รับการชำระบาปทั้งปวง ความไม่รู้ทั้งปวง ด้วยการได้ยินนามของท่าน เห็นรูปของท่าน คิดถึงท่าน หรือภาวนามนตราที่มีพระนามของท่าน
  • หลักการปฏิบัติสมาธิพระวัชรสัตว์ ก็คือ การสารภาพบาปเพื่อการชำระล้างด้วยเมตตาและแสงแห่งปัญญาญาณภายในของเราเพื่อนำจิตเข้าสู่ธรรมชาติเดิมแท้ภายในตนนั่นเอง โดยอาศัยการสร้างจินตภาพในสมาธิถึงองค์ท่าน การน้อมใจเข้าถึงพระพุทธพระธรรมพระสงฆ์ และอธิษฐานโพธิจิต คือการระลึกถึงเหล่าสรรพชีวิตที่ร่วมทุกข์ให้ได้มีโอกาสได้รับการชำระล้างด้วย การทบทวนความผิดบาปในอดีตพร้อมการระลึกเสียใจ การอธิษฐานขอพลังแห่งพระวัชรสัตว์มาชำระล้างบาปนั้น การสำนึกว่าจะไม่ก้าวล่วงในบาปกรรมนั้นอีก และการอุทิศกุศลบุญที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติ
  • พลัง 4 ประการของการปฏิบัติ
  • 1.พลังของการมีพระรัตนตรัยและพระวัชรสัตว์เป็นที่พึ่ง 
  • 2.พลังของการสำนึกผิด
  • 3.พลังของการชำระล้างให้บริสุทธิ์
  • 4.พลังของการละเว้นบาปและการอุทิศ
  • ขั้นตอนการปฎิบัติ ( สรุป )
  • 1. ให้สร้างจินตภาพพระวัชรสัตว์ ให้ชัดเจนในมโนสำนึก ตั้งแต่ฐานดอกบัวและแผ่นจานสีขาว พระจันทร์ที่ท่านประทับอยู่ เห็นท่านในท่านั่งขัดสมาธิด้วยความสงบและยิ้มยินดี กายของท่านสีขาวสว่างบริสุทธ์เรืองรอง ดั่งดวงอาทิตย์พันดวง และ ว่างเปล่าดุจสายรุ้งบนท้องฟ้า มีเครื่องทรงประดับสวยงามประดับด้วยเพชรนิลจินดา มือขวาถือวัชระทองคำ
  • ที่ระดับหัวใจ หมายถึง ความรักเมตตา ส่วนมือซ้ายถือระฆังเงินซึ่ง หมายถึง ปัญญา ให้เห็นท่านลอยอยู่เหนือศีรษะ ห่างประมาณหนึ่งฟุต และหันหน้าไปทางเดียวกัน
  • 2. จินตภาพว่าตัวเรานั่งอยู่ท่ามกลางสรรพชีวิต ในทุกภพสภาวะ คือ พรหม เทพเทวดา มนุษย์ทุกชาติทุกภาษา สัตว์ทั้งหลาย รวมถึงผี เปรต อสุรกาย สัตว์นรกทั้งหมดนั้นแวดล้อมท่านอยู่ เพื่อได้ปฏิบัติชำระจิตใจร่วมกัน
  • 3. สวดภาวนาออกเสียง ขอพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งดังนี้ 
  • “ ข้าพเจ้า ขอถือพระพุทธเจ้า พระวัชรสัตว์ พระธรรม พระอริยะสงฆ์ เป็นที่พึ่งอันสูงสุด ข้าพเจ้า จะปฏิบัติสู่ความหลุดพ้น เพื่อช่วยสรรพชีวิตให้พ้นทุกข์ทั้งปวง”
  • 4. ทบทวนชีวิต ระลึกถึงบาป ความชั่วทั้งหลายที่เคยทำมาในชาตินี้ ในอดีตชาติ ทั้งที่ระลึกได้และยังระลึกไม่ได้ ว่าเคยเบียดเบียนตนเอง บุพการี ญาติพี่น้อง เพื่อน สรรพชีวิต ทั้งทางกาย วาจา ใจ พร้อมทั้งระลึกเสียใจในบาปกรรมนั้นจากใจจริงส่วนลึกของตน
  • 5. สร้างความเชื่อมั่นพุทธภาวะในตนเองที่จะเป็นอิสระจากความชั่วเหล่านั้น พร้อมกับตั้งจิตปรารถนาที่จะชำระบาปกรรมนั้นให้หมดสิ้นไป เห็นพระวัชรสัตว์ทรงยิ้มและกล่าวด้วยเสียงอันอ่อนโยนว่า “ ลูกรัก บาปกรรมทั้งหลายจะถูกชำระล้างจนหมดสิ้น ”
  • 6. เริ่มการชำระล้างด้วยการอธิษฐานถึงพลังแห่งพระวัชรสัตว์ ให้ช่วยชำระบาปกรรมทั้งหมดในอดีตทั้งของข้าพเจ้าและสรรพชีวิตทั้งหลาย
  • 7. สวด มนตราพระวัชรสัตว์หนึ่งร้อยคำ 21 จบ โดยแบ่งเป็นทีละ 7 จบ
  • 7 จบแรกให้ชำระล้างกาย ท่องออกเสียง1 จบ ท่องในใจ 6 จบ
  • 7 จบที่สองชำระล้างวาจา ท่องออกเสียง1 จบ ท่องในใจ 6 จบ
  • 7 จบที่สามชำระล้างใจ ท่องออกเสียง1 จบ ท่องในใจ 6 จบ
  • 8. ท่องมนตราย่อ คือ โอม เบนซา ซาโต ฮุง ไปเรื่อยๆ พร้อมทั้งจินตภาพให้ทุกสิ่งในพุทธภูมนี้ิ ทุกชีวิตในจักรวาล หลอมสภาพเป็นแสงพุ่งเข้าสู่ตัวเราที่เป็นพระวัชรสัตว์
  • 9. เมื่อค่อยๆ ออกจากสมาธิความว่างอันเจิดจรัส ให้รับรู้ มอง ทุกสิ่งเป็นพุทธภูมิ ไม่ว่าจะเป็นความคิด อารมณ์ ความรู้สึก ล้วนเป็นพุทธสภาวะ เสียงทั้งหลายคือมนตรา ผู้คนทั้งหลายคือพุทธะ จากใจภายในที่สะอาดผ่องใส แล้วนั่นเอง
  • 10. อธิษฐานบุญกุศลที่ได้กระทำการชำระจิตนี้
  • อธิษฐานจิตอย่างแน่วแน่และมั่นคงว่าจะไม่กระทำความชั่วเช่นที่ผ่านมาอีก หากเป็นนิสัยที่ติดตัวมานานก็ให้ตั้งสัตย์ปฏิญาณว่าจะไม่กระทำในช่วง 7 วัน 14 วัน หรือ 1 เดือน เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าจะสามารถละได้สำเร็จ
  • “ ขออุทิศบูชาแด่ พระพุทธ พระวัชรสัตว์ พระธรรม พระอริยสงฆ์ ต่อบิดามารดา สามีภรรยาลูกหลาน ญาติทั้งปวง สรรพชีวิตทั้งที่เป็นมิตรและศัตรู ทั้งที่อยู่ใกล้และอยู่ไกล ที่ยังจมอยู่ในความทุกข์ขอให้พ้นทุกข์ ที่มีสุขก็ขอให้พบสุขละเอียดขึ้นและได้พบธรรมปฏิบัติธรรมจนพ้นทุกข์ด้วยกันทั้งหมด เทอญ "

Cr. พระวัชรสัตว์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น