วันจันทร์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

514. สุญญตา

ในภาพอาจจะมี หนึ่งคนขึ้นไป และ สถานที่กลางแจ้ง
514. สุญญตา
  • บุคคลทั่วไปนั้น มีความไม่ว่างอยู่ ก็คือมีนันทิคือความเพลิน มีราคะคือความติดใจยินดี มีตัณหา จิตท่องเที่ยวในกามคุณ ตกอยู่ในอำนาจกิเลสกาม จิตจึง”ไม่ว่าง”
  • ส่วนบุคคลผู้ที่อบรมเจริญปัญญา ตามหลักไตรสิกขา ตามลำดับ จึงได้เข้าถึง ความว่าง ตามลำดับ ในขั้นศีลสมาธิปัญญาคือ 
  • ศีลเป็นสูญญตา คือว่างจากการก่อเวร 
  • สมาธิ เป็นสุญญตาคือความว่าง ว่างจากกามและอกุศลธรรม 
  • ปัญญาเป็นสุญญตาคือความว่าง ว่างจากอวิชชาโมหะ ความไม่รู้
  • จนเข้าใจถึงความเป็นอนัตตาของ ขันธ์๕กายและใจ จนดับกิเลสได้อย่างเด็ดขาด ( มรรคจิตเกิดขึ้นประหารกิเลส ) เรียกว่าสุญญตะ 
  • เพราะว่างจากกิเลส ไม่มีกิเลสเกิดขึ้นอีก 
  • มรรคย่อมได้ชื่อสุญญตา มรรคนั้นทำพระนิพพานให้เป็นอารมณ์เกิดขึ้น. มีนิพพาน”เป็นอารมณ์ ส่วน วิมุติก็เป็นความว่างจากกิเลส อวิชชา ตัณหา อุปาทาน
  • ดังนั้น สุญญตะ หมายถึงมรรคจิต และหมายถึง พระนิพพานด้วย (พระนิพพาน ว่างจากราคะ โทสะ โมหะ สังขารธรรมทุกประเภท) 
  • ในทางพุทธศาสนา สุญญตา คือ ความว่างกิเลส และว่างทุกข์ซึ่งเกิดจากกิเลส ว่างจากบาปอกุศลทุจริต สุญญตา จึงเป็นวิหารธรรมของท่าน วิชชาวิมุติ เพื่อบรรลุ สัมโพธิสุข สุขจากความรู้พร้อม
  • บางท่าน บอกตัวเองว่า ไม่ยึดติด ไม่ไปหลงอะไร ไม่ต้องทำอะไร กิเลสก็ไม่ต้องกำจัด เพราะ มันว่างอยู่แล้ว ลืมย้อนกลับมาดูตัวเองว่า ยังมีสิ่งที่ตัวเองยึดอยู่อย่างเหนียวแน่น คือ “ไปยึด”ความไม่ยึดอะไร” ไปยึดความว่าง”
  • ซึ่งเป็นเส้นทางเดินของ ” อรูปพรหม ”เพ่งความว่าง เรียกว่า ” อากาสานัญจายตนะ ”
  • เพ่งจิตไว้เฉยๆ เรียก ” วิญญาณัญจายตนะ ”เพ่งความไม่มีอะไรเลย เรียก ” อากิญจัญญายตนะ ”
  • ยังไม่ใช่เส้นทางที่พระพุทธเจ้าสอนคือการรู้ทุกข์..คือการรู้กายรู้ใจ..เมื่อรู้แล้ว..มันจะวางเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น