วันศุกร์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2560

433. ปางมือ..เก้าคำ..ศักดิ์สิทธิ์

ในภาพอาจจะมี ท้องฟ้า และ สถานที่กลางแจ้ง
433. ปางมือ..เก้าคำ..ศักดิ์สิทธิ์
  • ร่างกายที่เคลื่อนไหว นั้น เกิดจาก ระบบคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในร่างกาย พลังงานในร่างกายแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย 
    • ๑.พลังหยิน คือ หัวใจ ปอด ไต ม้าม ตับ เยื่อหุ้มหัวใจ
    • ๒.พลังหยาง คือ กระเพาะอาหาร กระเพาะปัสสาวะ ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ ถุงน้ำดี ฯลฯ
  • ในหัวใจ มีโมเลกุลที่เรียงตัว เป็นระเบียบมัน จะสั่นสะเทือน เป็นคลื่นวิ่งไปตามเส้นลมปราณต่าง ๆ ..ในฝ่ามือ ฝ่าเท้า มีเส้นลมปราณ 6 เส้น/ข้าง เพื่อจุดเชื่อมโยงอวัยวะภายใน, 
  • ถ้ามือสองข้างรวมกันเป็น 12 เส้น ดังนั้นการประนมมือ การไหว้ ท่าปางต่าง ๆ ยิ่งตรงกลางฝ่ามือ(ฝ่ามือกายทิพย์ที่ซ้อนกายเนื้อ) มันจะมีช่องว่างให้พลังถ่ายเทออกมาก ดังนั้นเวลาให้ประทานพร การโยเร แผ่เมตตา การรักษาต่างๆ จึงใช้ฝ่ามือเป็นหลัก จึงจะมีพลังสะท้อนไปถึงอวัยวะภายใน จะเกิดการเคลื่อนไหว มือจะหมุนขึ้นมาเองโดยที่ไม่ได้ตั้งใจ (หัวใจวิชานินจา,หัวใจกำลังภายใน เคลื่อนไหวไร้เจตนา)

  • ปางมือเก้าคำศักดิ์สิทธิ์คือ หัตถ์พระพุทธองค์ หรือ “ปางมือ” หรือ ของพระอรหันต์ 500 องค์ ในมหายาน-วัชรยานในทิเบต มี 590 กว่าท่า เป็นการเคลื่อนลมปราณ เพื่อ
* รักษาโรค, *แผ่เมตตา * เจริญปัญญา
  • ปางมือเก้าคำศักดิ์สิทธิ์ มาจากตำราลัทธิเต๋า มาดังที่ญี่ปุ่น ท่องว่า( ริน - เบียว - โต - ฉะ - ไค - จิน - เร็ทสุ - ไซ – เซ็น) หรือ (กล้า-อายุยืน-สู้ -รักษา-เข้าใจ-เปลี่ยนแปลง-ช่วยเหลือ-หลอมรวม-ฉับพลัน) เก้าคำศักดิ์สิทธิ์เน้นที่จิตวิญญาณ ไม่เน้นรูปลักษณะ
  • สำหรับเราชาวพุทธ ควรท่องว่า” นะมะพะธะ นะโม พุทธายะ” 
เคล็ดวิชา
    • ".ยามเคลื่อนปางมือไปข้างหน้าให้ผ่อนลมหายใจออก
    • ..ยามดึงปางมือกลับมาให้สูดลมหายใจเข้า
    • ..ยามยกปางมือขึ้นบนให้ผ่อนลมหายใจออก
    • .ยามดึงปางมือกลับมาให้ผ่อนลมหายใจเข้า
  • **ขณะฝึกปางมือ ให้รวมศูนย์ประสาทและจิตสำนึกไปที่ปลายนิ้วตลอด จะต้องเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องไม่ให้ขาด ตอนดุจสายน้ำตอนยกปางมือไปข้างหน้า หรือเหนือหัวจะต้องใส่แรงเข้าไปชั่วพริบตาด้วย ฝึกปางมือได้ทุกเวลา และทุกสถานที่"
  • การผนึกปางมือต้องรวมกาย - วาจา - ใจ ให้เป็นหนึ่งเดียว จะสวดมนต์หรือออกเสียงควบคู่ไปด้วย เสียงจะช่วยปรับการทำงานของอวัยวะภายในร่างกาย การฝึกปางมือ คือการฝึกจิต ฝึกอินทรีย์๕ พละ๕ (ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา) ให้รวมเป็นมรรคสมังคี จิตรวมเป็นหนึ่งแต่เราไม่เอาจิตรวมนี้ไปต่อสู่กับใคร แต่ใช้ดูไตรลักษณ์ ดูกาย ดูใจ ดูความรู้สึก ให้ตัวเราเข้าถึงแก่นแท้สรรพสิ่งทั้งมวล ไม่แบ่งแยก และสามารถนำพลัง ดิน น้ำ ลม ไฟ นั้นมาใช้ เป้าหมายสูงสุด เพื่อมุ่งชำระใจของตนให้ถึงซึ่งพุทธะ…

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น