วันจันทร์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

จุดยุทธศาสตร์สำคัญของจีน

The Tibetan Plateau
เครดิต สยามอนุรักษ์นิยม
  • ที่ราบสูงทิเบต คือจุดยุทธศาสตร์สำคัญของจีน "แหล่งน้ำจืด" "แหล่งแร่ธาตุ" คือทรัพยากรมีค่า ที่จีนต้องเตรียมให้พร้อม จีนกำลังจะแก้ปัญหาระยะยาวตรงนี้
  • แม้รัสเซียจะส่งน้ำจืดมาให้ ก็ไม่เพียงพอใช้ในประเทศ แหล่งน้ำคือชีวิตและอนาคตของพญามังกรมากกว่าปัญหาใดๆเสียอีก! นี่คือเหตุผลว่าทำไมจีนถึงต้องยึดทิเบตรวมเข้ามา ขาดเธอ เหมือนขาดใจ..ของจริง! เพราะ "ที่ราบสูงทิเบตคือหัวใจมังกร" ที่แท้จริงของการเป็นมหาอำนาจของจีน
  • นอกจากจะได้รับการขานนามว่า “หลังคาของโลก” ( The roof of the World ) แล้ว ยังมีอีกหลายชื่อที่ “ทิเบต” ได้รับสมญานามเช่น “ขั้วโลกที่สาม” รวมทั้งอีกชื่อที่มีความหมายอย่างมากนั่นคือ “หอสูงเก็บน้ำแห่งเอเชีย” หรือ
  • “Asian water tower”
  • ดินแดนที่กว้างขวางกว่ายุโรปตะวันตกทั้งหมดแห่งนี้ มีความสำคัญมากไม่เฉพาะกับประเทศ “จีน” ที่เป็นแหล่งกำเนิดแม่น้ำขนาดใหญ่ที่เปรียบเสมือน “เส้นเลือดใหญ่ของจีน” อย่างแม่น้ำฮวงโห และ แยงซีเกียง ที่อาจจะเรียกว่าเป็น “มารดาแห่งอารยธรรมจีน” ด้วยนั้น แต่ยังมีความสำคัญกับเอเชียหลายประเทศด้วย
  • ที่ราบสูงทิเบตเป็นที่ราบสูงที่สูงและมีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก กินพื้นที่ครอบคลุมทั้งจีน อินเดีย เนปาล ภูฏาน เป็นต้น มีพื้นที่ประมาณ 2,500,000 ตารางกิโลเมตร มีความสูงโดยเฉลี่ยประมาณ 4,500 เมตร จึงกำเนิดแม่น้ำสายสำคัญของเอเชียอีกหลายสาย เช่น แม่น้ำโขง แยงซีเกียง ฮวงโห สาละวิน อิระวดี และ บรามาปุตรา เกงกีส ไหลลงอ่าวเบงกอลในบังคลาเทศ
  • นักวิชาการบอกว่าภาวะโลกร้อนที่เกิดกับทิเบตจะมีผลกระทบต่อผลประโยชน์ของเอเชียอย่างมาก โดยเฉพาะเรื่อง ”แหล่งน้ำจืด”
  • นอกจากเรื่องน้ำจืด ที่ใช้สำหรับทำการเกษตรเพื่อใช้น้ำทำการปลูกพืชเลี้ยงสัตว์และหล่อเลี้ยงโรงงานอุตสาหกรรม ของชาวจีนแล้ว ทิเบตยังมี “แหล่งแร่ธาตุ” มากมาย เช่น เหล็ก ตะกั่ว ทองแดง สังกะสี และแร่ธาตุอื่นๆอีกมาก ทางการจีนได้สร้างทางรถไฟเชื่อมแล้ว เพื่อจะเชื่อมต่อการพัฒนาระหว่างทิเบตกับจีนตะวันออกทางบก โดยทางการจีนมีแผนการที่จะพัฒนาเอาแร่ธาตุต่างๆเหล่านั้นมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาประเทศต่อไป
  • สหประชาชาติเคยทำการศึกษาพบว่า มีประชากรมากกว่าครึ่งโลกที่ได้รับการหล่อเลี้ยงจากที่ราบสูงทิเบตแห่งนี้ ผ่านการไหลของแม่น้ำสายต่างๆ และ “จีน” เองนั้นแม้จะมีอาณาเขตประเทศที่กว้างใหญ่มาก แต่พื้นที่มากกว่าหนึ่งในสี่เป็นทะเลทรายและพื้นที่แห้งแล้ง โดยเฉพาะทางด้านตะวันตก การรักษาให้ที่ราบสูงทิเบตอุดมสมบูรณ์ตลอดเวลาจึงเป็นการรักษาไว้ซึ่งแหล่งน้ำจืด และคือการรักษา “เส้นเลือดใหญ่” คือความมั่นคงปลอดภัยของประเทศจีนด้วย
  • ดังนั้น “จีน” จึงมีโครงการมานานแล้วที่จะพัฒนาในการดึงดูดแหล่งน้ำจากทิเบต เช่นการสร้างเขื่อน คลองส่งน้ำต่างๆเพื่อจะนำน้ำไปหล่อเลี้ยงพัฒนาส่วนอื่นๆของประเทศ (คล้ายๆ ที่ “กัดดาฟี” ผู้นำที่ดีและเก่งของลิเบีย ซึ่งถูกสื่อตะวันตกสาดโคลนให้เป็นเผด็จการ ทำโครงการท่อส่งน้ำขนาดยักษ์ที่ดูดน้ำใต้ดินที่ใหญ่ที่สุดในอัฟริกาเหนือไปหล่อเลี้ยงส่วนต่างๆของประเทศที่ยังแห้งแล้ง แต่สุดท้ายกลับโดนประเทศฝรั่งตะวันตกปล้นไปเฉยๆ พร้อมทองคำและน้ำมัน) โดยเฉพาะเขตการเกษตรและอุตสาหกรรมทางภาคตะวันออกที่ไกลออกไปมาก
  • โดยแหล่งน้ำที่ทิเบตนั้นอยู่ในรูปของเทือกเขาน้ำแข็งที่มีมากมาย แต่กำลังเจอปัญหาโลกร้อนหนักที่สุดในโลก จึงมีการตั้งคำถามว่า แล้ว “เทือกเขาน้ำแข็งแห่งนี้จะหล่อเลี้ยงแผ่นดินจีน อินเดีย และประเทศในเอเชียได้อีกนานแค่ไหน?” 
  • ขณะที่ IPCC หรือ คณะปกครองสากลเรื่องการเปลี่ยนแปลงอากาศโลก ( Intergovernmental Panel on Climate Change ) ก็บอกว่า ถ้าภาวะโลกร้อนยังคงมีต่อไปในอัตราแบบนี้ เทือกเขาน้ำแข็งที่ทิเบตอาจจะหายไปภายในเวลาแค่สามสิบปี เพราะที่นี่เทือกเขาน้ำแข็งจะละลายเร็วกว่าที่อื่น และเร็วกว่าที่ควรจะเป็น ต่อการนำน้ำไปพัฒนาประเทศ (อาจเพราะที่ราบมีความสูงกว่าที่อื่น) และถึงตอนนั้น “จีน” จะประสบวิกฤติการปัญหาการขาดแคลนน้ำจืดในประเทศทันที
  • เพราะเหตุนี้ “จีน” ถึงได้ยกกองทหารมาบุกยึดเอา “ทิเบต” เป็นส่วนหนึ่งของประเทศจีนในปี 1950 หรือหนึ่งปีหลังจากเปลี่ยนแปลงการปกครองสำเร็จ เพราะรู้ว่าที่นี่คือ “หัวใจของอำนาจพญามังกร” อย่างแท้จริง
  • ปัญหาเรื่องการค้า การเงิน การทหาร ในทะเลจีนใต้ หรือขาดน้ำมันพลังงาน “จีน” พอจะแก้ไขได้ไม่ยาก และแม้จะมีการพยายามขอซื้อน้ำจืดจากรัสเซียผ่านมองโกเลียมาที่จีน ก็ยังไม่เป็นผลและเพียงพอ เพราะปัญหาภายในประเทศเรื่อง “แหล่งน้ำจืด” ต่างหากที่เป็นปัญหาใหญ่ ที่ทำให้ผู้บริหารของจีนต้องกลุ้มใจมากกว่าในปัจจุบันและอนาคต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น