วันเสาร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2560

จิตอยู่ในกายทิพย์ หรือ นอกกายทิพย์ ก็ได้

ในภาพอาจจะมี 1 คน

  • #สติ... คือ การระลึกนึกถึงได้ จิตอยู่ในกายทิพย์ หรือ นอกกายทิพย์ ก็ได้ 
    • ถ้าจิตอยู่ในกายทิพย์ จิตจะไม่หวั่นไหว 
    • ถ้าจิตอยู่นอกกายทิพย์ จิตจะหวั่นไหวได้

#สมาธิ แบ่งได้ 2 แบบ
1. จิตอยู่นอกร่างกาย 
  • 1.1 อยู่นอกแต่ไม่นิ่ง เช่น กำลังเย็บผ้า กำลังเจียระไนพลอย กำลังอ่านหนังสือ
  • 1.2 อยู่นอกแต่นิ่ง คือ ฌานนอก กสิณนอก เช่น การเพ่งลูกแก้ว เพ่งกสิณ ดิน น้ำ ไฟ

2. จิตอยู่ในร่างกาย 
  • 2.1 อยู่ในแต่ไม่นิ่ง คือ วิปัสสนา จิตจะอยู่ตามส่วนต่างๆ
      • ~ ที่ตามองเห็น
      • ~ ที่มือจับฆ้อน
      • ~ ที่เท้าข้างขวา
      • ~ ที่เท้าข้างซ้าย 
      • มีสภาวะรู้ แต่ไม่มีสภาวะอารมย์ โดยจิตจะเคลื่อนไหว ไปตามจุด ที่การรับสัมผัส แต่ไม่ออกนอกร่างกาย

  • 2.2 อยู่ในแต่นิ่ง คือ ฌานใน เมื่อจิตรวม จิตจะมีพลัง 
      • ~ เพ่งไปที่จมูก จะปวดหัวยิ่งๆขึ้น
      • ~ เพ่งไปที่หน้าอก หน้าอกจะแข็งขึ้น 
      • ~ เพ่งไปที่หน้าผาก จะปวดหัวมาก จนเห็นเป็นอุโมงค์
      • #ฌาน คือ อาการจิตรวม ทั้งใน และนอกร่างกาย เมื่อจิตรวม จิตจะขยายใหญ่ขึ้น 
      • ~ มีแสงเป็นสีต่างๆ ตามสภาวะอารมย์ ที่กำหนดจิต 
      • ~ จิตเมตตา ...จะเป็นสีเหลือง
      • ~ จิตนิ่งๆไม่คิด...จะเป็นสีแดง
      • ทั้งหมดคือพลังบุญ ที่ดวงจิตอื่นต้องการขอจากเรา ให้เราแผ่ให้เขา

  • การแผ่ คือ การรวมจิตให้มีพลังเป็นแสงออกมา

#จิตจะต้องนำกาย(กายคะตายะสติ) จึงจะเกิดมหาสติ หรือ
  • ~ ฌาน หรือ
  • ~ อุปจารสมาธิ

#หมายถึงต้องท่องพุทโธนำการเคลื่อนไหวร่างกาย แต่ที่สอนๆ กันคือ จิตตามการเคลื่อนไหวของร่างกาย
    • 1. รู้กายในกาย
    • 2. รู้เวทนาในเวทนา ตามสภาวะอารมย์
    • 3. รู้จิตในจิต ตามความคิด
    • 4. รู้ธรรมในธรรม ยอมรับธรรมชาติ
  • ฝึกและเข้าใจกันแบบนี้จึงไปไม่ถึงไหนกัน ต้องฝึกสมถะ (กสิณ) ให้ชำนาญก่อน จึงจะวิปัสสนา
  • คือ รู้กายคะตายะสติ ได้แก่ การท่อง พุทโธ ๆๆๆๆๆๆๆๆ ลอยๆรัวๆ ตลอดวันตลอดคืน ที่นึกขึ้นได้ ไม่ต้องจับกับลมหายใจ

เริ่มกันเลย
ในภาพอาจจะมี หนึ่งคนขึ้นไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น