วันเสาร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2560

โอวาท ท่านปรมาจารย์ ตักม้อ

ในภาพอาจจะมี 1 คน, เครา

โอวาท 
ท่านปรมาจารย์ ตักม้อ
"ผู้ยิ่งใหญ่ แห่ง วัดเส้าหลิน"
สังฆปรินายกองค์ที่ ๒๘ แห่งชมพูทวีป
และเป็นองค์ที่ ๑ แห่งจีน สมัยราชวงศ์ซ่ง

๑. ...เมื่อละทิ้งความคิดเพ้อเจ้อ ใจย่อมสุขสงบเอง ตามธรรมชาติ...
"ใจสงบก็คือ ความรู้สึกเหมือนหินตกลงบนพื้นโลกอันกว้างใหญ่..."
๒."...อย่าดำรงชีวิต โดยเกาะแน่นกับความกลุ้มใจเด็ดขาด.."
๓. หลักแท้ในการบำเพ็ญวิปัสสนาญาณ ต้องมีปัญญาคอยกำกับ และต้องปฏิบัติตาม
หลัก ๔ ประการขณะบำเพ็ญ คือ
  • ๑.ชดใช้บาป 
  • ๒.ตามลิขิตกรรม
  • ๓.ไม่แสวงหาสิ่งใด 
  • ๔.ยึดถือธรรม
๔. ...ผจญทุกข์ไม่บ่น รับไว้โดยเต็มใจ...
๕. ถ้าใจเกิดความละโมบ..ทุกข์ตามมาทันที
๖. "..จิตเดิมแท้นั้นคือธรรม..ต้องละทิ้งความคิดเพ้อเจ้อ ตั้งหน้าปฏิบัติธรรมสู่ความว่าง ละทิ้งใจที่ตระหนี่ถี่เหนียว"
๗. สวรรค์และนรกต่างก็อยู่ที่ใจ...อย่าดื้อรั้นถือตัวจนเกินไป...!
๘.หลงและตื่นตัว เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน...ถ้าไม่หลง ก็ไม่สำนึก!
๙. "ให้เข้าใจความว่าง แต่อย่าหลงความว่าง...ไม่ยึดมั่น ใจจึงว่าง"
๑๐. "มองดูทุกสิ่งทุกอย่างที่ผ่านไปในอดีต เหมือนภาพในความฝัน...มองดูทุกสิ่งทุกอย่างในปัจจุบัน เหมือนเป็นฟ้าแลบ..มองดูทุกสิ่งทุกอย่างในอนาคต.. เหมือนเมฆหมอกที่ล่องลอยอยู่ไปมา.."
๑๑. ..อารมณ์ความคิดทั้งหลายก็ล้วน เกิดดับ..
๑๒. "ไม่ยึดมั่นในเรื่องได้เสีย จิตที่เป็นทุกข์ จะเป็นอิสระ"
๑๓. "ดำรงชีวิตด้วยใจอิสระ ไม่ถูกความอยากควบคุม..."
๑๔. "มองเห็นจิตเดิมแท้ของตน"...นี่คือจุดหมายของวิปัสสนาญาณ
๑๕. ถ้าเราสำคัญสิ่งใดเป็นสิ่งดี และเข้าใกล้มัน ใจเราเริ่มเอียงเอนแล้ว...
๑๖. ...สนใจธรรมมากเกินไป ย่อมผูกมัดตนเองไม่มีอิสระ...
๑๗. นักปราชญ์ผู้สร้างประโยชน์แก่มนุษย์ รู้ว่าใจ คือ ธรรม.....แต่คนโง่เที่ยวแสวงหาธรรม
ไปในที่ต่างๆ อย่างไร้จุดหมาย
๑๘. "ใจ คือ พระธรรม...ดังนั้น จึงไม่ต้องไปหาพระธรรมนอกใจ"
๑๙. "ถ้าคิดที่จะปฏิบัติธรรม...ต้องพัฒนาจิตใจให้ยิ่งใหญ่เกรียงไกรและต้องวางใจไว้นอกเหนือกฎเกณฑ์ที่มีเขตจำกัด.."
๒๐. ...ไม่สนใจจุดยืน ไม่เป็นผู้ยึดมั่นใดๆ ทำใจสงบสุข..
๒๑. "เพียงอาศัยคำสอน ของผู้มีชื่อเสียง ไม่ใช่สัจธรรมแท้...ไม่ใช่สัจธรรมแท้..."
๒๒. ...ยึดมั่นในความคิดของตนเกินไป จะไม่สามารถเข้าถึงพุทธธรรม
๒๓. "รวมทุกข์ กับสุข เป็นอันหนึ่งอันเดียว...นั่นคือ หนทางแห่งพุทธธรรม"
๒๔. เห็นสรรพสิ่ง แต่ใจไม่หวั่นไหวสับสน ใจไม่ฟุ้งซ่าน...
๒๕. ...แท้จริง "เกิดกับตาย คือ นิพพาน" ซึ่งอยู่ ณ กลางใจ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น