วันพฤหัสบดีที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2560

633 . มะ อะ อุ

ในภาพอาจจะมี 1 คน

633 . มะ อะ อุ

อักขระ ภาษาขอมบาลี มีความศักดิ์สิทธิ์ มีพลังงาน เมื่อท่องบ่นสาธยาย ย่อมมีความขลัง ยิ่งท่องจนเป็นญาน ย่อมก่อให้เกิด อิทธฤทธิ์ สำเร็จตามใจปารถนาได้ ครูอาจารย์โบราณ มักจะใช้อักขระคาถา ลงใน ผ้ายันต์ ในพระเครื่อง และ การสักยันต์ตามร่างกาย
... มะ อะ อุ เป็นหัวใจพระไตรปิฎก หมายถึง พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์
@* ความหมาย..ยุคโบราณ..
  • มะ - มนุสสานัง พุทโธภะคะวาติ .... ในบทพุทธคุณ
  • อะ - อกาลิโก เอหิปัสสิโก….ในบทธรรมคุณ
  • อุ - อุชุปฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ในบทสังฆคุณ
@*..ความหมายของครูอาจารย์
  • มะ - มหาบุรุษ-มหาปุริสะ ตัวแทนของ ศีล
  • อะ – อาโลโก – แสงสี ตัวแทนของ สมาธิ
  • อุ - อุดมปัญญา-สัพพัญญุุตญาณ ตัวแทนของ ปัญญา
@ .ยุคหลัง ชื่อของ ๓ พระอสีติมหาสาวก..ผู้นำในการทำปฐมสังคายนาพระไตรปิฎก

  • มะ - พระมหากัสสป
  • อะ - พระอานนท์
  • อุ - พระอุบาลี
****..ถ้านำเอาอักขระตัว”อะ” มาขึ้นไว้ข้างหน้า คือ อะ อุ มะ ..
  • อะ - อะระหัง หมายถึง พระพุทธ
  • อุ - อุตตรธรรม หมายถึง พระธรรม
  • มะ - มหาสังฆ หมายถึง พระสงฆ์
.** อักขระ ทั้ง 3 นี้ ควรใช้ด้วยกัน ไม่เอามาใช้ในตัวใด ตัวหนึ่ง รวมความแล้ว เป็นหัวใจพระไตรปิฎก เป็นคาถาใช้ได้ทุกทาง ล้วนเป็นพลังงานแห่งพุทธะ ธรรมะ สังฆะ เป็นทั้ง พุทธานุสสติ ธรรมมานุสติ สังฆานุสสติ..

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น