วันพฤหัสบดีที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2560

"สำรับกับข้าว" มีความหมายแค่ไหน?

ในภาพอาจจะมี 2 คน, คนที่ยิ้ม, ผู้คนกำลังยืน
"สำรับกับข้าว" มีความหมายแค่ไหน?
สมัยโบราณที่ยังมีทาสอยู่ คุณทราบไหมว่าทาสเขากินอย่างไร? เขาจะทำแบบนี้ครับ คือ ให้แม่ครัวจองประจำที่หม้อข้าวและกับ แล้วให้ทาสแต่ละคนถือถ้วยข้าวไปรับ ตักครั้งเดียวจบ ไม่มีมาก กว่านี้ หากนึกภาพไม่ออกให้นึกถึง "อาหารจานเดียว" ในยุคนี้ครับ แต่คนที่ไม่ใช่ทาส เป็นชนชั้นสูงขึ้นมาหน่อย เขาจะไม่กินแบบนี้ เขาจะกินอย่างไรครับ? เขาก็จะมีกับข้าวหลายๆ อย่าง รวมกันเป็นสำรับ ซึ่งปัจจุบันนี้เราเห็นดาษดื่น แต่ขอโทษนะครับ สมัยโบราณคนที่จะได้กินข้าวเป็นสำรับนั้น มีแต่ชนชั้นสูงเท่านั้นละครับ ไพร่ก็กินอย่างเดียวก็หรูแล้ว ทาสนี่ไม่ต้องพูดถึงตักทีเดียวจบ เพราะว่าทาสในบ้านชนชั้นสูงมีกี่คน? บางทีเกือบร้อยคนก็มี ถ้าไม่ตักครั้งเดียวจบ ดูแลกันด้วยสำรับข้าว รับรองว่าเลี้ยงกันไม่ไหวแน่นอน (คงยุ่งยากวุ่นวายแน่นอนครับ)
ดังนั้น "สำรับข้าว" จึงเป็นของสูง ทางภาคเหนือเรียกว่า "ขันโตก" เป็นของสูงเพราะมีแต่ชนชั้นสูงใช้ เวลาแขกสำคัญๆ มาถึงเรือนชาน เขาจะยกขันโตกมารับ มาเลี้ยงดูแล แต่ถ้าไพร่ทาสมา เขาไม่ทำเช่นนั้น เขาก็ให้กินแบบต่อแถวรับครั้งเดียวจบ คือ อาหารจานเดียวอย่างที่เรากินตามร้านอาหารตามสั่งน่ะละครับ อีสานก็มีวัฒนธรรมการต้อนรับแขกสำคัญๆ แบบนี้เหมือนกันแต่เรียกกันว่า "พาแลง" คำว่า พาแลง หมายถึง อาหารมื้อค่ำ เป็นการเลี้ยงรับแขกด้วยอาหารมื้อค่ำ (Dinner) นั่นเอง เรื่องนี้ถือกันมากในสมัยโบราณนะครับ ถ้าใครเลี้ยงข้าวเราแบบยกทั้งสำรับมาให้ ก็หมายถึงเขายกย่องเราเป็นคนพิเศษทีเดียว แต่ถ้าไม่นับถือกันก็จะให้ "ต่อแถวรับอาหารจานเดียว" อย่างไรละครับ ดังนั้น สำรับข้าวจึงเป็นตัวแทนของการเลี้ยงต้อนรับแขก, การเจริญสัมพันธไมตรี การเรียนรู้จัก "ขัน" โดยเฉพาะขันโตก จึงเป็นสิ่งสำคัญมากครับสมัยโบราณมีขันหลายชนิด ขันโตกเป็นหนึ่งในหลายชนิดนั้นครับ หากคุณเรียนรู้วัฒนธรรมล้านนา คุณจะต้องเริ่มต้นจากการรับขันธ์ห้าก่อน จากนั้น ก็เรียนรู้ "ขันโตก" หมายถึง จัดสำรับอาหารเลี้ยงแขก เจริญสัมพันธไมตรี ผูกมิตร (ผูกเสี่ยวแบบเล่าปี่ผูกมิตรกับกวนอูและเตียวหุย) ฯลฯ ต่อมาก็ "ขันหมาก" ขันหมากก็มีหลายอย่างในนั้นครับ เป็นการผูกสัมพันธ์แบบเครือญาติกันเลย แล้วก็ยังมีอีกหลายขันทีเดียว อย่าเพิ่งดูถูกว่าเรื่องขันเป็นเรื่องโง่เง่าเสียก่อนละครับ เพราะมันเป็นภูมิปัญญาโบราณของล้านนาเขาทีเดียว
ชาวล้านนาเก่งในการผูกมิตร จึงไม่ต้องทำสงครามมากไงครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น