วันพฤหัสบดีที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

520. ปรมัตถธรรม

ในภาพอาจจะมี อาหาร

520. ปรมัตถธรรม
  • ปรมัตถธรรม เป็นธรรมหมวดหนึ่งในอภิธรรมปิฎก มีธรรมย่อยอยู่ ๔ ได้แก่ จิต, เจตสิก, รูป, นิพพาน 
  • โดยทั้งสี่นี้ นับว่าเป็น "ธรรมเนื้อแท้" ที่ครอบคลุมทั้งหมดทั้งมวล ทุกสรรพสิ่ง ในส่วน "สมมุติธรรม" หรือ "โลกแห่งสมมุติธรรม" เป็นเนื้อธรรมแห่งโลกสมมุติ
  • ปรมัตถธรรมที่เป็นขันธ์ ก็ได้แต่จิต เจตสิก และรูป ส่วนปรมัตถธรรมที่ไม่เป็นขันธ์ก็ได้แก่นิพพาน ซึ่งเรียกว่าขันธวิมุตติ หมายความว่า “พ้นจากขันธ์”
  • ส่วน จิต เจตสิก รูป จำแนก เป็นขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนาเจตสิก สัญญาเจตสิก สังขารขันธ์ (เจตสิก)และ วิญญาณขันธ์(จิต)
  • แก่นสารที่จัดเป็นธรรมคือ "ปรมัตถธรรม" เมื่อพ้นจากโลกสมมุตินี้ไปแล้ว จำต้องอาศัยธรรม "นิพพาน" ที่ทำให้ "โลกสมมุติ" สิ้นสุดลง ดังนั้น "นิพพาน" จึงแปลตรงตัวว่า "ความดับ, ความสูญ" เฉพาะของสมมุติเท่านั้นเอง อันธรรมแท้ๆ ที่ไม่ใช่สมมุติธรรม มิได้ดับไปด้วย

  • ดังนั้น ปรมัตถธรรม จึงเป็นธรรมเนื้อแท้ แก่นแท้ ของสมมุติทางโลก แต่มิใช่ "ไกวัลยธรรม" ปรมัตถธรรม จึงเป็นธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการเกิดและการดับ โดยมี "นิพพานเป็นการดับสนิท" เป็นการดับครั้งสุดท้าย ของสมมุติใดๆ เมื่อถึงนิพพานแล้ว สมมุติธรรมทั้งหลาย ดับสูญสนิทลง ไม่เกิดอีก จึงเปิดประตูรู้แจ้งในสัจธรรมแท้ดั้งเดิมก่อนการเกิดดับนั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น