วันอาทิตย์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2560

อภิมหาตำนานวิกฤตเงินเฟ้อของประเทศซิมบับเว




อภิมหาตำนานวิกฤตเงินเฟ้อของประเทศซิมบับเว

  • สมัยเด็กๆเรามักสงสัยว่า ทำไมต้องมีคนจน ทำไมรัฐบาลไม่พิมพ์แบ๊งแจกคนยากจนทุกคนจะได้รวย หรือปัจจุบันมักมีคำถามว่าทำไมอเมริกาพิมพ์แบ๊งเองได้ (QE) ทำไมประเทศอื่นทำบ้างไม่ได้ อภิมหาตำนานวิกฤตเงินเฟ้อของประเทศซิมบับเว นั้นเป็นคำตอบได้อย่างดี
  • ไม่มีที่ไหนในโลก เหมือน “ซิมบับเว” (Zimbabwe) ไม่ใช่เพราะมีน้ำตก วิคตอเรีย อันสวยงาม ไม่ใช่เพราะมีเหมืองขุดเพชร ขนาดใหญ่ หรือเพราะมีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ 
  • แต่ที่นี่ชาวซิมบับเว ทุกคนคือ “เศรษฐีพันล้าน” (Billionaire) ย้อนกลับไป 5 ปีก่อน ประเทศนี้ก้ไม่ได้ต่างจากประเทศอื่นๆทั่วไป หากแต่การบริหารงานที่ผิดพลาดและขาดความเข้าใจ ของผู้นำรัฐบาล กลับสร้างหายนะอย่างใหญ่หลวงต่อประชาชนทุกคน ชนิดที่ โลกต้องจารึกไว้เป็นอีกบทนึงของประวัติศาสตร์การเงินโลกกันเลยทีเดียว 
  • ประชากรชาว ซิมบับเว มีทั้ง “คนผิวขาวและคนผิวดำ” อาศัยอยู่ร่วมกันแบบพึ่งพา คนผิวขาวที่ย้ายมาตั้งรกราก เป็นเจ้าของที่ดินและฟาร์มเกษตร ส่วนคนผิวดำ เป็นชนชั้นแรงงาน คนขาว รับหน้าที่ เป็นผู้บริหารชั้นดี ส่วนคนดำเป็นแรงงานมีฝีมือ ทุกอย่างลงตัว
  • จนกระทั่งช่วงต้นทศวรรษที่ 90 ในยุคสมัยของนายกรัฐมนตรี โรเบิร์ต มูกาเบ้ (Robert Mugabe) รัฐบาลออกกฎหมาย ใหม่ปฎิวัติการจัดการที่ดินทำกิน (Land Reform) 
  • เนื้อหาสำคัญก็คือ ช่วยคนผิวดำซึ่งเป็นคนพื้นเมือง ให้มีที่ดินเป็นของตัวเอง ไม่ต้องตกเป็นลูกจ้างของคนผิวขาวอีกต่อไป เกิดการยึดคืนที่ดินซึ่งเป็นกรรมสิทธ์ของคนผิวขาวแล้วเอาไปแจก ให้กับคนผิวดำ ......
  • เท่านั้นเองปัญหาเกิด จากคนผิวดำ ซึ่งเคยเป็นกรรมกร บัดนี้ได้เลื่อนขั้นกลายเป็นเจ้าของที่ดิน จำเป็นต้องมาบริหาร 
  • จากคนผิวขาวที่เคยบริหารกลับสูญสิ้นทุกอย่างที่เคยเป็นของตัวเอง จำเป็นต้องรับสภาพ กรรมกร ! เหมือนใช้คนไม่ถูกกับประเภทงาน 
  • ด้วยความที่ด้อยการศึกษาและขาดทักษะบริหารจัดการ ไม่นานระบบเศรษฐกิจที่เคยรุ่งเรืองของ ซิมบับเว ก็ดิ่งลงเหว เกิดปัญหาสังคมตามมามากมาย 
  • สุดท้ายไม่วายเป็นหนี้ IMF ในปี 2006 ปัญหาหนี้สินของประเทศ เกินเยียวยา ผู้ว่าการธนาคารกลางในขณะนั้นเกิด ปิ๊งไอเดีย (ง่ายๆแต่ไม่ฉลาด) ในการใช้หนี้คืน นั่นก็คือ “การพิมพ์เงิน” (คุ้นๆมั๊ยครับ?) 
  • สกุลเงิน ซิมบับเวียนดอลล่าห์ (Zimbabwean Dollar : ZWD) มีอัตราแลกเปลี่ยนอยู่ประมาณ 1.59 Zim-Dollar แลกได้ 1 US-Dollar ในเมื่อประเทศเราเป็นหนี้ IMF ในสกุลเงินดอลล่าห์ เราก็แค่ พิมพ์เงินประเทศเราเอาไปซื้อดอลล่าห์ เสร็จแล้วก็ เอาไปใช้หนี้คืน ง่ายๆ ไม่น่าจะมีอะไรยาก 
  • 16 กพ 2006 : ธนาคารกลางซิมบับเว จึงจัดพิมพ์เงินครั้งใหญ่ มูลค่า 21 Trillion (21,000,000,000,000 ZWD) เพื่อสะสางปัญหา ได้ผล ! หนี้หายวับไปกับตา 
  • แต่ผลที่ตามมากลับกลายเป็นว่า “โหดร้ายมากกว่าเป็นหนี้หลายเท่าตัว” เงิน 21T ออกไปเที่ยว ตปท ได้ไม่นานก็หมุนเวียนกลับเข้ามาในระบบศก.ของซิมบับเวเอง 
  • สกุลเงิน ZWD เจือจางลงอย่างรวดเร็ว สินค้าทุกอย่างปรับขึ้นราคาตามในทันที เดือดร้อนถึง นายกโรเบิร์ต มูกาเบ้ ที่ต้องรีบสั่งการให้ ธนาคารกลางแก้ไข ปัญหาโดยด่วน 
  • ซึ่งแน่นอน อาวุธคู่กายธนาคารกลางทุกประเทศมีแค่ สองอย่าง แต่สำหรับ ซิมบับเว พิมพ์ พิมพ์ พิมพ์ และ ก็พิมพ์ คือ คำตอบสุดท้าย
  • ในเดือนมิถุนายน ปีเดียวกัน ปริมาณเงินอีก 60T ! ถูกอัดฉีดเข้าระบบ วัตถุประสงค์ก็เพื่อจ่ายเพิ่มเป็นเงินเดือนให้กับบรรดา ทหาร ตำรวจและข้าราชการ เพราะข้าวของแพงเหลือเกิน 
  • แต่กลับยิ่งทำให้ปัญหาเงินเฟ้อรุนแรงเข้าไปอีก เพื่อเป็นการยับยั้งและจัดระเบียบกันใหม่ ให้เงินสกุล ZWD ยังคงดูน่าเชื่อถือต่อไป 
  • สิงหาคมในปีนั้น ธนาคารกลางตัดสินใจเปลี่ยนรูปแบบ ธนบัตรใหม่ทั้งหมด โดยขอร้องให้ประชาชนนำ ธนบัตรรุ่นเดิมมาแลก 
  • แต่ภายใต้ข้อแม้ว่า 1000 ZWD เก่า แลกได้เพียง 1 ZWD ใหม่ (ตัด 0 ออกสามตัว) หากคุณมีเงินฝากในธนาคาร 1 ล้าน วันรุ่งขึ้นยอดเงินฝากจะลดลงเหลือเพียง 1 พัน เท่านั้น !! ทำกันถึงขนาดนั้น แต่ปัญหาก็ยังไม่มีทีท่าว่าจะบรรเทา ...... 
  • ปี 2007 อัตราเงินเฟ้อยังคงพุ่งต่อเนื่อง ผลที่ตามมาคือสินค้าขึ้นราคาราวกับติดจรวด รัฐบาลของมูกาเบ้ ตัดสินใจใช้มุกใหม่ (แต่เป็นแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุ) ออกกฎหมายควบคุมราคาสินค้าทุกอย่าง (Price control) 
  • ร้านค้าใดหากไม่ทำตามถือว่ามีความผิด ผลที่ตามมากลับกลายเป็นว่า ในเมื่อขึ้นราคาสินค้าไม่ได้ก็ “ไม่ขาย” สินค้าใน ซุปเปอร์มาร์เก็ต เริ่มถูกเก็บลงจากชั้นวาง เหลือแต่ความว่างเปล่า 
  • การกำหนดราคาขายสินค้าอุปโภคบริโภค เสื้อผ้า ยารักษาโรค เริ่มกำหนดกันเองในตลาดมืด พร้อมๆกับการกักตุนสินค้า เงิน ZWD กลายเป็น “เงินร้อน” ประชาชนรีบใช้มันทันทีเมื่อได้มันมา ทำให้ปริมาณเงินในระบบเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ อัตราเงินเฟ้อ จึงยิ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ 
  • มกราคม 2008 รัฐบาลออกธนบัตรใหม่ชนิดราคา 200,000 ใช้เป็นครั้งแรก ! แต่ยังไม่ทันจะสิ้นเดือน ธนบัตรชนิดราคา 10,000,000 ก็ถูกผลิตขึ้นมา ถือเป็นแบงค์ที่มูลค่าแพงที่สุดในขณะนั้น แต่หากคิดเทียบเป็นเงินบาทไทย คงใช้ซื้อข้าวผัดกระเพราได้เพียงแค่ 4 จาน (120 บาท)
  • เมษายน 2008 รัฐบาลออกธนบัตร ชนิดราคา 50,000,000 ออกสู่สาธารณ
  • มิถุนายน 2008 ธนบัตร ชนิดราคา 100,000,000 และ 250,000,000 ก็ถูกผลิตออกมา แต่แค่เพียง สิบวันหลังจากนั้น ชนิดราคา 500,000,000 ก็ออกตามมาติดๆ
  • กรกฎาคม 2008 ธนาคารกลางวางแผน จะออกธนบัตรชนิดราคา 100,000,000,000 ออกสู่ตลาด แต่พอถึงปลายเดือน ประธานธนาคารกลางเลือกที่จะขอปรับค่าเงินกันใหม่ (Redenominated) โดยคราวนี้ ตัด 0 ข้างหลังออก 10 ตัว !!!!!! (10,000,000,000 ZWD เก่าแลกได้เพียง 1 ZWD ใหม่) อัตราเงินเฟ้อในขณะนั้นคือ 11,250,000 % ! ราคาของเบียร์ 1 ขวดในขณะนั้น 100,000,000,000 แต่เพียงแค่ไม่กี่ชั่วโมงถัดมา ราคาก็ปรับขึ้นเป็น 150,000,000,000 
  • ความคิดของรัฐบาลและธนาคารกลางที่ จะแก้ปัญหาโดยการพิมพ์เงินอัดฉีดเข้าระบบ ไม่สัมฤทธิ์ผล สาเหตุก็เพราะ ความเชื่อถือในระบบธนบัตรของประชาชนชาวซิมบับเว ลดลงเร็วกว่า ความสามารถในการพิมพ์ของเครื่องพิมพ์ 
  • ไม่ว่าจะเร่งสปีดพิมพ์เพิ่มออกมามากขนาดไหน ไม่สำคัญว่าจะใส่ 0 ไปอีกซักกี่ตัว เมื่อ กระดาษก็คือกระดาษ ความน่าเชื่อถือหากหมดไปจากกระดาษ ก็คือ จบ... มูกาเบ้ ไม่เข้าใจความจริงในข้อนี้ เค้าเลือกที่จะสู้หลังพิงฝากับเงินเฟ้อ 
  • มกราคม ปี 2009 ในเมื่อไม่มีอะไรจะเสีย ประชาชนชาวซิมบับเว จึงได้เห็น ธนบัตร ชนิดราคา 50,000,000,000 ออกใช้ 

  • 16 มกราคม 2009 
  • วันที่โลกต้องจดจำ รัฐบาลของมูกาเบ้ ประกาศจะพิมพ์ ธนบัตร ชนิดราคา 
    • 10,000,000,000,000 - อ่านว่า สิบ ล้านล้าน 
    • 20,000,000,000,000 - อ่านว่า ยี่สิบ ล้านล้าน 
    • 50,000,000,000,000 - อ่านว่า ห้าสิบ ล้านล้าน 
    • 100,000,000,000,000 - อ่านว่า หนึ่งร้อย ล้านล้าน 
    • ออกใช้.....
  • แต่ไม่มีความหมายอีกต่อไป ประชาชนเลิกพกเงินเป็นกระสอบๆ เพื่อไปจ่ายตลาด เงินสกุล ซิมบับเว ไม่มีใครเชื่อถือและอยากใช้ การซื้อขายทั่วไป ถูกกำหนดราคากันใหม่ด้วย เงินสกุลเงินตราต่างประเทศ เช่น US.Dollar หรือไม่เช่นนั้นก็ทำการซื้อขายกันด้วย 
  • “ทองคำ” ประชาชนชาว ซิมบับเว บางส่วน (ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ) ย้อนกลับไปสู่ยุคโบราญ เอากะทะไปร่อนหาเศษทองในแม่น้ำ เพื่อเอามาแลกกับ ข้าวสาร ไข่ไก่ น้ำมันพืช หรือ ขนมปัง ประทังชีวิตไปวันๆ ใคร ที่ยังเก็บทองคำติดตัวเอาไว้ ยังสามารถซื้อของได้เท่าเดิม แต่ผู้ที่เก็บเงินออมไว้ในรูปแบบของ “ธนบัตร” ซิมบับเวเผื่อไว้ใช้ยามแก่ กลับพบว่าเงินทั้งหมดแทบไม่พอที่จะจ่ายแม้แค่ “อาหารเช้าเพียง 1 มื้อ” 
  • เมษายน ปี 2009 สกุลเงิน ZWD ตายสนิท รัฐบาล ปล่อยให้ตลาดเป็นคนกำหนด ราคาและสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนกันเอง เงิน ZWD ประกาศหยุดพิมพ์เพิ่ม อย่างน้อย 1 ปีหลังจากนั้น เพื่อให้ระบบเศรษฐกิจ แก้ไขปัญหาด้วยตัวของมันเอง 
  • ระบบเศรษฐกิจนั้นเมื่อเกิดปัญหา กลไกของตลาดจะมีวิธีจัดการแก้ไขได้ด้วยตัวของมัน ภาษาทางเศรษฐศาสตร์เรียกว่า “มือที่มองไม่เห็น” (Invisible Hand) หน้าที่ของรัฐบาล เพียงแค่สนับสนุนให้ มือที่มองไม่เห็นนี้ ทำงานไปอย่างเป็นธรรมชาติ 
  • แต่รัฐบาลในหลายๆประเทศไม่ว่าจะเป็นประเทศที่เจริญแล้วหรือกำลังพัฒนา กลับพยายามที่จะทำตัวเป็นมือที่มองไม่เห็นนี้ซะเอง ใช้อำนาจ เข้าจุ้นจ้าน-เข้าแก้ไข สุดท้ายก็พัง ไม่มีอะไรมาขัดขวาง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น