วันพฤหัสบดีที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2560

๔๕๓ ..“สมุทัย ๗” สาเหตุที่มาแห่งทุกข์

ในภาพอาจจะมี 1 คน, เมฆ
๔๕๓ ..“สมุทัย ๗” สาเหตุที่มาแห่งทุกข์
  • อนึ่ง บุคคล ทำอวิชชาให้สิ้น เรียกว่า “อรหันต์” แต่พระอรหันต์ยังต้องรับ เวทนาทุกข์ทางกายอยู่” ที่เกิดจากกายเสื่อมไปตามวัย ต้อง เจ็บ, ป่วย ยังต้องรับ “วิบากทุกข์” เช่น พระโมคคัลลานะ ยังต้องถูกทุบตีตนร่างกายแหลกเหลวจนตาย
  • เราเรียกพระอรหันต์ว่า “อเสขบุคคล” คือ บุคคลที่ไม่จำเป็นต้องร่ำเรียนต่อแล้ว หลุดพ้นทุกข์จากการเกิด, แก่, เจ็บ, ตาย คือ การพ้นไปเสียจากวัฏสงสาร 
  • แต่สำหรับพระมหาโพธิสัตว์ทั้งหลาย ที่มีความปรารถนาที่จะเวียนว่ายตายเกิดต่อไป เพื่อช่วยเหลือสรรพสัตว์ ไม่ใช่การหนีการเกิด แต่เป็นการเกิด อย่างมีความสุข ต้องเรียนรู้สมุทัย ๗
  • ๑.เวทนาทุกข์
    • เกิดจากจิตไม่รู้แจ้งในอนิจจังแห่งเวทนา ทั้ง “ทุกขเวทนา” (กาย) และ “โทมนัสเวทนา” (ใจ) เ เป็นความทุกข์ที่ต้องเกิดขึ้นอยู่แล้วตามธรรมชาติ หากสามารถทำจิตอุเบกขากับความสุขที่ดับลงไปได้ ก็ย่อมพ้นจากความทุกข์นี้ได้
  • ๒.วิบากทุกข์
    • เกิดจากจิตไม่รู้แจ้งในวิบากกรรมแต่หนหลังที่ต้องรับ เมื่อผลของวิบากกรรมในอดีตชาติส่งผล ทำใจยอมรับไม่ได้ จึงเกิดความทุกข์
  • ๓. กิเลสทุกข์
    • เกิดจากจิตไม่รู้แจ้งในโทษแห่งกิเลส ว่ากิเลส สร้างความเร่าร้อนขึ้นในจิต เมื่อ มีความอยาก จิตใจก็เร่าร้อนความทุกข์เกิดทันที จิตกระสับกระส่าย
  • ๔.ตัณหาทุกข์
    • เกิดจากจิตไม่รู้แจ้งในโทษแห่งความอยากเกินพอดี มีอาการอยากได้อย่างไม่อาจหยุด จะรู้สึกหงุดหงิดว้าวุ่นร้อนรุ่มในอก จำต้องออกแสวงหา มิหยุดหย่อน
  • ๕. อุปทานทุกข์
    • เกิดจากจิตไม่รู้แจ้งในโทษแห่งความยึดมั่นถือมั่น เมื่อไม่ได้ตามจิตยึดมั่นนั้น ก็ทำให้เกิดทุกข์ขึ้น อาการผิดหวัง ความเสียใจ ในจิตมีแต่คิดว่า ต้องได้, ต้องมี, ต้องเป็น หรือ ต้องไม่ได้, ต้องไม่มี, ต้องไม่เป็น
  • ๖.สัญญาทุกข์
    • เกิดจากจิตไม่รู้แจ้งในโทษแห่งสัญญา สัญญาทุกข์นี้ เกิดขึ้นเมื่อจิตรับรู้ทุกข์และเกิด “สัญญาทุกข์” กับตนเองไว้ก่อน เมื่อภายหลังได้พบ “สิ่งเร้า” ที่กระตุ้น “สัญญาทุกข์” ความทุกข์ก็เกิดขึ้นในทันที
  • ๗.อวิชชาทุกข์
    • เกิดจากจิตไม่รู้แจ้งในท้ายที่สุดแห่งสรรพสิ่ง มีความลังเล เคลือบแคลง ด้วยความไม่รู้ก็ก่อทุกข์ในการเวียนว่ายตายเกิดต่อไปอีก
  • ความทุกข์แต่ละคน แตกต่างกัน เพราะ กิเลส, ตัณหา, และอุปทาน มีความแตกต่างกัน หากมีกิเลสมากก็ทุกข์มาก, มีกิเลสแล้วหยุดยั้งไม่ได้ ก็ก่อตัวเป็นตัณหา แล้ว ยังยึดมั่นถือมั่นในตัญหาไม่หยุด จึงเป็นอุปทาน ก็จะต้องรับทุกข์หนักเข้าไปอีก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น