วันเสาร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2560

กล้าพอที่จะเปลี่ยนแปลง วิธีการสอนภาษาให้นักเรียนหรือไม่

ศธ.และสพฐ. กล้าพอที่จะเปลี่ยนแปลง
วิธีการสอนภาษาให้นักเรียนหรือไม่ ?


ศธ.และสพฐ. กล้าพอที่จะเป
 

ท่านที่เคารพ...
           มนุษย์ทุกคนในโลกนี้ “เรียนรู้จากสิ่งแวดล้อม Human beings learn from the environment” อย่างที่เรียกกันในภาษาวิชาการศึกษาว่า Social negotiation เชน ภาษาพูด สำเนียงเสียงสูงต่ำ วัฒนธรรมประเพณี ความเป็นอยู่ และสิ่งอื่นๆอีกมากมาย...

           เด็กแรกเกิด เริ่มเรียนรู้ภาษาด้วยการฟังเสียงพ่อแม่ และสิ่งรอบตัว ทำความเข้าใจ สร้างความคุ้นเคย และตอบสนองด้วยกริยาท่าทาง แสดงอารมณ์ความรู้สึกด้วยเสียงอ้อแอ้ในลำคอและส่งเสียงร้อง เราจึงตอบสนองเสียงนั้นได้อย่างถูกต้องตรงกัน..และต่อมา ทารกจึงได้พัฒนาการส่งเสียงอ้อแอ้ในลำคอและเสียงร้อง ให้เป็นคำพูดที่ “เลียนแบบ”จากการฟังนั้นเอง..และทำให้ “คำพูด”สละสลวยถูกต้อง ชัดเจนยิ่งขึ้น ด้วยตัวของเขาเอง

“เสียง” จึงเป็นสิ่งสำคัญ ต่อการสื่อสาร สร้างความเข้าใจด้วยการ “ฟัง” ที่ประสาทสัมผัสทางหู “การพูดเลียนแบบ” เกิดขึ้นได้จาก “การฟัง
 เมื่อเขาทำบ่อยๆพร้อมๆกับการสร้างความเข้าใจในสิ่งที่พูดชัดเจนขึ้น ภาษาของเขาก็ถูกพัฒนาขึ้นไปด้วยตนเอง 

นี่คือวิถีทางของธรรมชาติ Natural way….
              เพราะเหตุใดเราจึงได้ “ปิดกั้น BLOCK” การเรียนรู้โดยวิธีธรรมชาติ และทำลายโอกาสแห่งการเรียนรู้ และสร้างความสูญเปล่าทางการศึกษา อย่างน้อยที่สุด 12 ปี สูญเสียเงินทอง และทรัพยากรของชาติมหาศาลนับไม่ถ้วน..ด้วยการกำหนดหลักสูตร และวิธรการเรียนรู้ที่ผิดทาง...
             
              การพัฒนา “ทักษะทางภาษา Language Skills” ทั้งภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษ สามารถทำได้พร้อมๆกัน โดยวิธีธรรมชาติ Natural Methods ซึ่งต้องเป็นไปตามลำดับดังนี้ คือ การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน..การเรียนภาษาของมนุษย์ทุกยุคสมัย และทุกเชื้อชาติในโลกนี้เหมือนกันหมด  การเรียนภาษา “เป็นการฝึกทางกายภาพ” เช่นเดียวกับการฝึกกีฬา เราต้องการ “ทักษะ คือ ความชำนาญ” ที่สามารถใช้การได้ ไม่ใช่การเรียนเพื่อเอาความรู้แบบนักภาษาศาสตร์..และขอชี้แจงเพื่อการสังเกต ดังนี้..

อย่าเข้าใจวิธีการเรียนรู้ที่ผิดๆต่อไปอีกเลย...

               ภาษาไทยนั้น..เป็นภาษาแม่ Mother Tongue.. เราเริ่มสอนที่ การอ่าน แล้วจึงมี การเขียน ก็เพราะเหตุว่า เด็กๆได้รับการ “ฝึก”เรื่อง การฟัง และการพูด จนชำนาญมาจากครอบครัวแล้ว.. มันไม่เหมือนกันกับการเรียนภาษาอังกฤษ ซึ่งไม่ใช่ภาษาแม่


 
ศธ.และสพฐ. กล้าพอที่จะเป


การเรียนภาษาอังกฤษนั้น ต้องทำดังนี้

1. ต้องตระหนักว่าภาษาอังกฤษ เป็นภาษาที่ 2.เด็กๆไม่เคยรู้มาก่อน ผู้เรียนจึงมีสภาพเหมือนเด็กแรกเกิด และ “กำลังสร้างพัฒนาการด้านต่างๆ Developing all Aspects ” รวมทั้งด้านการสื่อสารทางบภาษา หรือ The language Communication..จึงต้องเลียนแบบธรรมชาติของการเรียนรู้ภาษา “ตามลำดับกระบวนการ The Process.” โดยไม่ลัด ไม่ตัด ไม่สลับขั้นตอนใดๆ ที่ทำให้พัฒนาการทางภาษาหยุดลง นั่นคือ ต้องให้ ฟัง ให้พูด จนสามารถสื่อสารกันได้รู้เรื่อง ท่านไม่ต้องไปคำนึงถึงหลักไวยากรณ์ใดๆทั้งสิ้น เอาให้สื่อสารกันได้เป็นที่หมายสำคัญ คือ ฟัง>แล้วพูดตาม>อ่านๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ ทำจนชำนาญเกิดเป็น ทักษะ หรือ Skill แล้วจึงไปสู่ขั้นตอนที่เป็นฟัง >พูด>อ่าน แล้วจึง >>เขียนๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ นี้คือ กระบวนการขั้นต้นของ Learning by Doing ซึ่งเป็น “การเรียนส่วนบุคคล Personal Learning” เท่านั้น ยังไม่ได้ผลเต็มที่ และยังไม่อาจใช้ในการสื่อสาร หรือ Communication ได้ ต้องให้ผู้เรียน Doing ขั้นต่อไป.

            *** การสอนอ่าน ก็ให้รู้จักตัวอักษร เสียงสระ และการผสมคำ และ เสียงภาษาอังกฤษ ก็ฟังจาก MP3 ที่คุณครูสามารถบันทึกจากเสียงอ่านของ Google แปลภาษา ไม่ต้องไปเสียเงินจ้างครูต่างประเทศ..ทั้งนี้ คุณครูต้องฝึกฝนตนเองก่อนนะครับ..ออกแบบการเรียนการสอน Instruction design ให้ดี..วางแผนการเรียน Learning plan ให้ดี รับรองความสำเร็จภายใน 1 ปี มีให้เห็นแน่ๆ..เทคนิคเหล่านี้ ผมเคยเขียนลงใน Fb แล้วนะครับ ลองย้อนไปอ่านดู แต่ถ้ายังไม่จุใจ ก็เขียนถามมาได้ทาง “กล่องข้อความ”นะครับ ผมยินดี Update ให้อ่านใหม่อีก..

2. การเรียนรู้แบบช่วยเหลือเกื้อกูล และการเรียนร่วมกัน หรือ Cooperative and Collaborative Learningหัวใจของการเรียนแบบนี้ คือ การมีส่วนร่วมโดยตรง Active Participation ในประสบการณ์ หรือ Experience นั้นๆ ไม่เฉพาะแต่การ Discussion หรือ Brainstorming เท่านั้น...การให้เพื่อนผลัดเปลี่ยนเวียนกัน ไปอ่านบนกระดานดำ แล้วให้เพื่อนอ่านตามทั้งชั้น ก็เป็นการ Active Participation, Cooperative, and Collaborative Learning ที่ถูกต้อง การกระทำเช่นนี้เป็นการ “ฝึกทักษะการพูด Practice speaking skills”ที่ได้ผลดีที่สุด เพราะนอกจากจะเป็นการทำซ้ำๆจนเกิดความชำนาญแล้ว คุณครูก็สามารถ “ประเมินผลรายบุคคลตามความเป็นจริง ที่เรียกว่า Personal Authentic Assessment.”จากการที่แต่ละคนผลัดกันออกไปอ่าน เพื่อให้เพื่อนอ่านตาม..ส่วนเพื่อนๆก็ได้ฝึกออกเสียงตามจำนวนรอบที่เพื่อนออกไปอ่าน..และคุณครูก็ได้ทำหน้าที่ Trainer จริงๆ.. นี่แหละครับ Learning by Doing และ Teach less,..Learn more ขนานแท้..นี่ก็ยังไม่จบกระบวนการ..และควรจะต้องมี “กิจกรรม” ต่อไปอีก คือ 

3. การเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน หรือ Peer Learning…วิธีนี้ คุณครูอาจใช้การเรียนแบบเล่น Play Way Method ให้นักเรียนจับคู่กัน แล้ว คนหนึ่งพูดเป็นภาษาอังกฤษที่เรียนมา แล้วอีกคนหนึ่งตอบ ผลัดกัน “ฝ่ายที่เข้าใจได้มากกว่า มีหน้าที่สอนอีกฝ่ายหนึ่ง ในไม่ช้าฝ่ายที่รู้น้อยก็จะพัฒนาตัวเองโดยธรรมชาติของการอยู่ร่วมกันของสังคม...

4. สำหรับคุณครูผู้สอน ท่านคือผู้นำร่อง หรือ Guide ตัวช่วยที่ดีที่สุดของท่านในวันนี้คือ Google แปลภาษา ท่านอยากจะพูดว่าอย่างไร พิมพ์ภาษาไทยเข้าไป ให้ Google แปลเป็นภาษาอังกฤษ พร้อมคำอ่านออกเสียง เป็นประโยค เป็นบทสนทนา เป็นนินานเด็กๆ เรื่องราว ข่าวสาร หนังสือเรียน ฯลฯ.. ท่านก็ฝึกไปก่อน จำได้ ชำนาญแล้วก็ไปสอนเด็ก ยังไม่ต้องคำนึงถึงไวยากรณ์ในชั้นนี้ พูดได้ ไวยากรณ์พื้นฐานมาเอง..ฝึกตามวิธีนี้ ใช้เวลาประมาณ 1 ปี ทั้งคุณครู กับ นักเรียน สื่อสารภาษาอังกฤษได้พร้อมกัน..ต่อไปอีกไม่นาน ท่านก็จะพบด้วยตนเองว่า.. “โลกของเรานี้ มีสิ่งที่น่ารู้ และสามารถรู้ได้อีกมากมาย”….

5. กระทรวงศึกษาธิการ,สพฐ, “เลิกการสอนภาษาอังกฤษ ที่ฝืนธรรมชาติแบบเดิมเสียทั้งหมด” หันมาสอน “แบบใหม่โดยวิธีธรรมชาติ Natural approach” ดังที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ และ “ชั้น ป.1-ป.4.หัดฟัง และ หัดพูดอย่างเดียว ชั้นประถมปลาย ป.5-ป.6. หัดพูดต่อไปอีก จนถึง ป.6.จึงให้รู้ระเบียบภาษาพอเป็นพื้นฐานเท่านั้น” เพราะการพูดของมนุษย์นั้น เขามุ่งประเด็นการสื่อสาร เพื่อให้มนุษย์ด้วยกันเข้าใจ มากกว่าการอวดภูมิรู้ด้านภาษาศาสตร์


 
"คนเรา..ถ้าลองได้หัดพูดถึง “6.ปี” แล้วยังพูดไม่ได้อยู่อีก..ก็น่าจะเป็นคนพิการไปแล้ว...
ถ้า “กระทรวงศึกษาธิการ,และ สพฐ” กล้าทำดังที่กล่าวมานี้
การศึกษาของชาติก็จะหลุดพ้นจากความ “ตกต่ำ”ขึ้นมาได้อีกหนึ่งขั้นเลยทีเดียว..."



______________________________________________
สนับสนุนบทความโดย : อ.สุทัศน์ เอกา
เรียบเรียงโดย : พี่นุ๊ก eduzones

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น