วันจันทร์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2560

รู้กำเนิดชีวิตมนุษย์ที่มาเกิดในครรภ์ทางพุทธศาสนา


 รู้กำเนิดชีวิตมนุษย์ที่มาเกิดในครรภ์ทางพุทธศาสนา 
พระพุทธเจ้าตรัสว่า...
  • ชีวิตมนุษย์ที่มาเกิดขึ้นในครรภ์ได้ ต้องมีองค์ประกอบ ๓ ประการ คือ
    • ๑. มาตา อุตุนี โหติ หมายถึง มารดามีระดู(ตกไข่)
    • ๒. มาตาปีตโร สนฺนิปติตา โหนฺติ หมายถึง มารดาบิดาอยู่ร่วมกัน
    • ๓. คนฺธพฺโพ ปจฺจุปฎฺฐิโต โหติ หมายถึง มีสัตว์มาเกิด (มีจุติวิญญาณ เคลื่อนมาเกิดปฏิสนธิ)
  • กำเนิดชีวิตมนุษย์เป็นทารกในครรภ์ ซึ่งเจริญเติบโตขึ้นได้มีดังนี้ คือ

"ปฐม กลล โหติ กลลา โหติ อพฺพุท 
อพฺพุทา ชายเต เปสิ เปสิ นิพฺพตฺตตี ฆโน 
ฆนา ปสาขา ชายนติ เกสา โลมา นขาปี จ 
ยญฺจสฺส ภุญฺชติ มาตา อนฺน ปานญฺจ โภชน 
เตน โส ตตฺถ ยาเปติ มาตุกุจฺฉิคคฺโต นโรฺ" 

 *แปลความว่า...
» รูปร่างนี้เป็น "กลละ" ก่อน 
  • (๑ สัปดาห์ เริ่มแรกเป็นหยาดน้ำใสขนาดเล็กละเอียด)
» จากกลละเกิดเป็น "อัพพุทะ" 
  • (๒ สัปดาห์ เกิดผุดขึ้นเป็นฟอง มีสีเป็นดังน้ำล้างเนื้อ)
» จากอัพพุทะเกิดเป็น "เปสิ" 
  • (๓ สัปดาห์ เกิดข้นแก่เข้าจนเป็นชิ้นเนื้อ สีดังตะกั่ว ,ดีบุก)
» จากเปสิเกิดเป็น "ฆนะ" 
  • (๔ สัปดาห์ เกิดแข็งขึ้นจนเป็นก้อนเนื้อกลม มีสันฐานเท่าไข่ไก่)
» จากฆนะเกิดเป็น "๕ ปุ่ม" 
  • (๕ สัปดาห์ เกิดเป็นปุ่มทั้ง ๕ คือ ศรีษะ ๑ ปุ่ม แขน ๒ ปุ่ม ขา ๒ ปุ่ม) 
» ต่อจากนั้น "มีผม ขน เล็บ" เกิดขึ้น 
  • (ต่อจากนั้น จึงเกิดขึ้นมาเป็นร่างกาย มีผม ขน เล็บ เป็นต้น) 
 » มารดาผู้ตั้งครรภ์บริโภคข้าวน้ำโภชนาหารอย่างใด 
  • ทารกในครรภ์ก็ยังอัตภาพให้เจริญเติบโตไปด้วยอาหารอย่างนั้น
  • ลักษณะที่ให้กำเนิดแห่งสัตว์ทั้งหลายเกิดมาได้นั้น มีอยู่ ๔ ประการ คือ
    • ๑. "อัณฑชะกำเนิด" สัตว์ที่เกิดจากเปลือกฟองไข่ เช่น เป็ด ไก่ นก งู เต่า เป็นต้น 
    • ๒. "ชลาพุชะกำเนิด" สัตว์ที่เกิดในครรภ์(มดลูก) เช่น มนุษย์ ลิง หมู หมา เป็นต้น 
    • ๓. "สังเสทชะกำเนิด" สัตว์ที่เกิดในปลาเน่า ซากศพเน่า น้ำครำ เช่น หมู่หนอน
    • ๔. "โอปปาติกะกำเนิด" สัตว์ที่เกิดผุดขึ้นมาเป็นตัว เช่น เทวดา สัตว์นรก เปรต


*หมายเหตุ : ดูเพิ่มเติม ได้ที่นี่...
อ่านเทียบเนื้อความพระไตรปิฎก (ฉบับมหาจุฬาฯ ,ฉบับหลวง)
http://84000.org/tipitaka////attha/m_siri.php?B=15&siri=235
ศึกษาอรรถกถานี้
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=801

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น