วันเสาร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2560

หลักธรรมจาก พระอภิธรรม กุสะลา ธัมมา

หลักธรรมจาก พระอภิธรรม กุสะลา ธัมมา อกุสะลา ธัมมา อัพ๎ยากะตา ธัมมา
ธรรมชาติ หรือสภาวะธรรม โลกธรรม ส่งผลต่อมนุษย์ ชาย หญิง ดี เลว มีศาสนา หรือไร้ศาสนา ย่อมได้รับผลอันเป็นธรรมดาของโลกเสมอกัน มนุษย์บางบุคคลมีหน้าที่จิตมีกุศลมาก กลาง น้อย บางบุคคลมีหน้าที่จิตมีอกุศลมาก กลาง น้อย และบางบุคคลนั้นมีคำว่า เฉยๆ ผสมผสานมาก กลาง น้อย
1. ธรรมทั้งหลาย ที่เป็นไปในด้านความดี ให้ผลเป็นความสุข(ภาษาบาลี เรียกกุศล, กุสะลา ธัมมา)
2. ธรรมทั้งหลายที่เป็นไปในด้านไม่ดี ให้ผลเป็นความทุกข์( ภาษาบาลี เรียกอกุศล, อะกุสะลา ธัมมา)
3. ธรรมทั้งหลายที่เป็นกลาง ๆ ให้ผลต่อจิตเป็นกลาง ๆ ไม่สุข ไม่ทุกข์ (ภาษาบาลี เรียกอัพยากฤต, อัพ๎ยากะตา ธัมมา)
1. ธรรมเหล่าใดที่เป็นกุศล ให้ผลเป็นความสุข ก็เมื่อไหร่ก็ตามที่...จิตของเธอมีความยินดีในรูป ทำให้อารมณ์ดี, ยินดีในเสียงทำให้อารมณ์ดี, ยินดีในกลิ่น ทำให้อารมณ์ดี, ยินดีในรส ทำให้อารมณ์ดี, ยินดีในสิ่งที่กระทบสัมผัสร่างกาย ทำให้อารมณ์ดี, ยินดีในความคิดใด ๆ ของใจเธอเอง ทำให้อารมณ์ดี, เมื่อใดก็ตามที่ใจของเธอรับรู้สึกอารมณ์ดี ดี ดี ที่ได้รับสัมผัสผ่านทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็ในขณะนั้นจิตของเธอตกอยู่ในอารมณ์ยินดี เรียกง่าย ๆ ว่า กำลังฟุ้งซ่านในความยินดีมีความสุขกายใจนั่นเอง ภาษาบาลีเรียกว่า จิตที่เป็นกุศล หรือธรรมที่เป็นกุศุล
2. ธรรมเหล่าใดที่เป็นอกุศล ให้ผลเป็นความทุกข์ ก็เมื่อไหร่ก็ตามที่...จิตของเธอมีความไม่ยินดีในรูป ทำให้อารมณ์ไม่ดี, ไม่ยินดีในเสียง ทำให้อารมณ์ไม่ดี, ไม่ยินดีในกลิ่น ทำให้อารมณ์ไม่ดี, ไม่ยินดีในรสทำให้อารมณ์ไม่ดี, ไม่ยินดีในสิ่งที่กระทบสัมผัสร่างกาย ทำให้อารมณ์ไม่ดี, รับรู้สึกไม่ดีหงุดหงิดกับความคิดใด ๆ ของใจเธอเอง ทำให้อารมณ์ไม่ดี, เมื่อใดก็ตามที่ใจของเธอรับรู้สึกว่าอารมณ์ไม่ดี ไม่ดี ไม่ดี ที่ได้รับผัสสะผ่านทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็ในขณะนั้นจิตของเธอตกอยู่ในอารมณ์ไม่ยินดี เรียกง่าย ๆ ว่า กำลังฟุ้งซ่านในความไม่ยินดีมีความทุกข์กายใจนั่นเอง ภาษาบาลีเรียกว่า จิตที่เป็นอกุศล หรือธรรมที่เป็นอกุศุล
3. ธรรมทั้งหลายที่เป็นกลาง ๆ ให้ผลต่อจิตเป็นกลาง ๆ ไม่สุข ไม่ทุกข์ ก็เมื่อไหร่ก็ตามที่...จิตของเธอเป็น กลาง ๆ มีความรับรู้สึกเฉย ๆ ในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสทางร่างกาย อารมณ์ใจของเธอรับรู้สึกว่าเฉย ๆ ต่อความสุข ความทุกข์ ต่อผัสสะที่กระทบผ่านทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็ในขณะนั้นจิตของเธอตกอยู่ในอารมณ์เป็นกลาง ๆ ไม่ยินดียินร้าย ไม่ฟูไม่แฟบ ต่อความสุขความทุกข์ เรียกง่าย ๆ ว่า ไม่ฟุ้งซ่านในดีในเลว ในบุญในบาปนั่นเอง ภาษาบาลี เรียกอัพยากฤต, อัพ๎ยากะตา ธัมมา
ธรรมชาติ หรือสภาวะธรรมทั้ง 3 ข้อหลัก ๆ นี้ มีความไม่เที่ยง แปรปรวนเปลี่ยนแปลงได้เสมอ ยกเว้นบุคคลผู้ถูกกำหนดหน้าที่เอาใว้แล้ว เช่นพระพุทธเจ้า และเหล่าอริยบุคคล ฯลฯ และบุคคลผู้ที่ผ่านการอัพเกรดจิตวิญญาณให้นิ่งสงบต่อสภาวะธรรมชาติทั้งหลาย รวมทั้งโลกธรรม 8 อย่าง ได้มากบ้างน้อยบ้างตามลำดับ ๆ คือฝึกจิตให้รับรู้อารมณ์เฉย ๆ ไม่ยินดียินร้ายต่อการมีลาภเสื่อมลาภ มียศเสื่อมยศ มีสรรเสริญมีนินทา มีสุขมีทุกข์ อันเป็นสภาวะธรรมชาติ ธรรมดา ๆ ที่มากระทบผ่าน ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ได้อย่างสม่ำเสมอได้ นั่นแหละที่เรียกว่า จิตที่อยู่เหนือบุญเหนือบาป คือการไม่ยินดียินร้าย ไม่ติดดี ไม่ติดเลว ไม่ติดสุขติดทุกข์ ไม่ติดบุญติดบาป ละบาปลอยบุญ ไม่ยุ่งกรรมใคร ไม่ติดกรรมใคร เรียกง่ายๆ ว่า ไม่ติดโลกนั่นเอง
รูปภาพจากอินเตอร์เน็ต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น