วันอาทิตย์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2560

พระเผยแพร่คำสอน มันผิดตรงไหน?

ในภาพอาจจะมี หนึ่งคนขึ้นไป, ผู้คนกำลังยืน, รองเท้า, เด็ก และ สถานที่กลางแจ้ง

พระเผยแพร่คำสอน มันผิดตรงไหน?
  • สืบเนื่องจากกรณีพระธัมชโย ถูกกล่าวหาว่านำเข้าข้อมูลอันเป็นเท็จหรือบิดเบือน จากคำสอนของวัดธรรมกาย 
  • จนทำให้นักวิชาการทางศาสนาอย่าง "อาจารย์สมภาร พรหมทา" ออกโรงมาปกป้องว่าไม่มีความผิดใด เพราะเป็นเสรีภาพในการมีความเชื่อแตกต่างกันครับ
  • ชายก็เลยเอาประเด็นนี้มาวิจารณ์บ้างละกัน 555
  • จริงๆ แล้วไม่ถูกต้องหรอกครับ ไม่ถูกอย่างไร? 
  • คุณต้องเข้าใจอย่างนี้ก่อนว่า ถ้าเราเป็นฆราวาส เราจะเผยแพร่ธรรมะอะไรของเราก็ได้ มันก็มีเรื่องสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพดูแลเราอยู่ 
  • แต่ถ้าเราไปอยู่ในระบบขององค์กรไหน เช่น บวชเป็นพระ เราจะทำตามใจเราไม่ได้ เพราะเราไม่ได้ทำในฐานะตัวเราจริงๆ 
  • คนอื่นเขาเห็นว่าเราเป็นพระ อย่างพระจะไปเที่ยวกลางคืน เข้าผับบาร์ได้ไหม? 
  • ก็ไม่ได้ เห็นมะ จะอ้างแต่เสรีภาพอย่างเดียว มันก็ไม่ถูก แต่ถ้าสึกแล้วไปเข้า ก็ไม่มีใครว่าอะไร 
  • ดังนั้น คำกล่าวว่า "เสรีภาพทำอะไรก็ได้" มันไม่ถูกเสมอไป หากคุณเป็นพระ อยู่ในองค์กรของสงฆ์ก็ต้องอยู่ในธรรมวินัยของเขาด้วย
  • ใน "ธรรมวินัย" นี้คุณต้องมีสติรู้ตัวว่าคุณบวชเข้ามาเป็น "ภิกษุสาวก" คำว่า "ภิกษุสาวก" ก็บอกอยู่แล้วว่าอยู่ในฐานะอะไร? 
  • สาวกใช่ไหม? ไม่ใช่ "ศาสดา" จะมาทำตัวเป็น "ศาสดาใหม่" เผยแพร่คำสอนแบบใหม่ของตัวเอง 
  • ไม่ได้เลยครับ หลายครั้งในสมัยพุทธกาล พระสมณโคดม ต้องเรียกพระสาวกมาคุยว่าใครสอนธรรมะอะไรไป ผิดตรงไหน ก็เรียกมาตักเตือนอยู่เสมอ 
  • หากคุณดูวัฒนธรรมพุทธทิเบต เขาจะมีคำว่า "รินโปเช่" หมายถึงอะไร? 
  • หมายถึงพระลามะที่ผ่านการยอมรับแล้วว่า "สามารถสอนธรรมะ หรือเผยแพร่ธรรมะได้" 
  • เพราะอยู่ในธรรมวินัยเดียวกัน คำสอนเดียวกัน ไม่ได้ผิดแผกออกไป 
  • ถ้ายังไม่ได้เป็นรินโปเช่ จะสอนธรรมะ หรือเผยแพร่ธรรมะไม่ได้ครับ 
  • ในไทยเรา หากจะทำให้เป็นระบบก็ทำได้คือ "ห้ามมิให้พระภิกษุสาวก กระทำตนเป็นดั่งศาสดาใหม่ หรือศาสดาใดๆ โดยการเผยแพร่คำสอนแบบของตัวเอง อันต่างไปจากคำสอนพุทธโดยรวม" 
  • เหตุผลเพราะภิกษุบวชเข้ามาในฐานะ "สาวก" มิใช่ศาสดา จะกระทำตนเป็นศาสดาเสียเองไม่ได้ 
  • ต้องกระทำตนให้เหมาะสมกับคำว่า "ภิกษุสาวก" 
  • ดังนั้น ในการลงโทษพระธัมมชโยอาจกลายเป็น "บรรทัดฐานใหม่" ในการดูแลพุทธศาสนาในอนาคตก็ได้ 
  • ซึ่งจะทำให้หลักธรรมคำสอนที่ออกจากพระภิกษุสาวก เป็นไปในแนวทางเดียวกัน ไม่ใช่แบบศาสดาหรือลัทธิ นิกายใหม่ 
  • จนทำให้เกิดความสับสนและกระทบต่อศาสนาโดยรวมได้
  • ถ้าธัมชโยอยากสอนธรรมของตนก็สึกแล้วเผยแพร่ได้ไม่ผิดอะไรครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น