วันอาทิตย์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2560

บัวบารมี 2

ในภาพอาจจะมี 1 คน

บัวบารมี
  • ดอกบัว เป็นสัญลักษณ์ของการบำเพ็ญบารมีของโพธิสัตว์ เมื่อบำเพ็ญทศบารมี 
  • เมื่อบำเพ็ญบารมีบริบูรณ์ในบารมีใด ระดับไหน ดอกบัวในบารมีนั้นจะค่อย ๆ เริ่มแย้มและบานสะพรั่ง 
  • เจ้าของบารมีจะมีอารมณ์รับรู้ทุกท่าน เบิกบาน แจ่มใส แต่จะรู้สึกมากน้อยไม่เท่ากันแล้วแต่ขั้นบารมีที่บำเพ็ญ

ทศบารมี : 
ทาน – ศีล , เนกขัมมะ – ปัญญา , วิริยะ – ขันติ 
สัจจะ - อธิษฐาน และ เมตตา - อุเบกขา

  • บารมีคือบุญอย่างยิ่ง เมื่อบำเพ็ญบุญอย่างยิ่ง บุญจะกลั่นตัวเป็นบารมี เมื่อบารมีบำเพ็ญถึงขนาดหนึ่งจะมีรัศมีโอภาสที่เศียร หทัยประเทศ หรืออาจจะทั้งตัวเลยก็ได้
  • บัวบารมี : บารมีในการสร้างกุศลของพระโพธิสัตว์มีดอกบัวเป็นสัญลักษณ์ จะรู้ได้ว่าเป็นพระโพธิสัตว์ 
  • พระมหาโพธิสัตว์ หรือพระบรมโพธิสัตว์ จะดูได้ที่ดอกบัวของท่าน ดอกบัวจะรองรับอยู่ที่บาทของท่าน แม้ขณะเดิน ยืน นั่ง นอน ก็มีอาสนะเป็นดอกบัวรองรับอยู่ และที่เศียรจะมีรัศมีสีขาว สีเหลือง ที่หทัยประเทศของท่านจะมีสีขาวสว่าง เรืองแปรเปลี่ยนตามบารมีตามกิจที่กระทำหรือบำเพ็ญอยู่ 
  • บัวของอนุโพธิสัตว์ ดอกเล็กและยังไม่มีรัศมีโอภาสนัก 
  • บัวพระโพธิสัตว์ มีขนาดใหญ่และมีรัศมี รุ่งเรืองสว่างไสวมากน้อยตามบารมีของแต่ละท่านผู้บำเพ็ญนั้น ๆ
  • โพธิสัตว์ไม่ว่าชั้นไหนเมื่อมาเกิดเป็นมนุษย์ จะต้องบำเพ็ญบารมีทวนหลังไปก่อน ทวนไปจนครบของเก่าก่อนจึงจะได้ดอกบัวชั้นใหญ่กว่านั้นใหม่ 
  • เช่น เคยสร้างบารมีมาได้บัว 8 ดอกแล้วตายไป ขึ้นไปเสวยทิพยสมบัติบนสวรรค์ 
  • ครั้นลาลงมาสร้างบารมี บางองค์จะได้รับพระราชทาน “ภาค” ของพระโพธิสัตว์ผู้ยิ่งใหญ่ที่พระองค์ทรงประทานให้มาเพื่องานแห่งศาสนกิจ 
  • พระภาคจะประหนึ่งดังพระองค์ท่านเอง แต่ถึงแม้จะได้รับการแบ่งภาคมา ก็มิใช่ว่าจะมีสิทธิพิเศษฝืนกฎสวรรค์ไปได้ ยังคงต้องปฏิบัติตามกฎอยู่นั่นเอง 
  • เช่น บารมีเคยได้บัวมา 8 ดอก เมื่อลงเกิดกายต้องบำเพ็ญบารมีเท่ากับของเดิมที่ได้คือ 8 ดอก จึงได้อำนาจสิทธิของดอกบัวตั้งแต่ดอกที่ 1 ถึงดอกที่ 8 คืนมา แล้วจึงนำสร้างดอกที่ 9 ,10..ต่อจากชาติก่อน

บารมีนั้นมี 4 ขั้น คือ
    • 1.บารมี คือการสร้างคุณความดีอย่างยิ่ง
    • 2.อุปบารมี บารมีขั้นกลาง สละได้แม้เลือดเนื้อ อวัยวะของตน
    • 3.ปรมัตถบารมี บารมีขั้นสูงสุด แม้ชีวิตของตนก็สละได้
    • 4.อริยบารมี บารมีของการสร้างพระอริยบุคคลให้บังเกิด
  • การได้บัวคือการได้บารมี บัวดอกที่ 4 บาน เรียกว่า “อริยโพธิสัตว์” หากเบื่อหน่ายที่จะบำเพ็ญโพธิสัตว์มรรคลาเข้าพระนิพพาน จะเทียบเท่ากับพระโสดาบัน ซึ่งจะง่ายมากที่จะสำเร็จกิจเข้าสู่พระนิพพาน เพราะเป็นผู้ไม่ถอยหลังกลับ
  • หากบำเพ็ญต่อจนดอกบัวที่ 20 บานก็จะสำเร็จเป็นพระอรหันต์ ถ้ายังบำเพ็ญโพธิสัตว์มรรคอยู่ต้องบัวบานดอกที่ 19 จึงจะเป็นพระ(อรหันต์) นิตยโพธิสัตว์ เพราะต้องบำเพ็ญเพื่อตนเองและเพื่อโปรดสัตว์ด้วย ส่วนมากจะลากันที่ดอกที่ 9 เข้าสู่มรรคผล 
  • ถ้าได้ดอกที่ 10 ขึ้นไปแล้ว จะดำรงมั่นในเส้นทางแห่งโพธิญาน พระอรหันต์โพธิสัตว์ต่างกับพระอรหันต์สาวก ที่ยังคงโปรดสัตว์อย่างไม่ย่อท้อ ไม่เก็บตัวเหมือนพระอรหันต์สาวก
  • เมื่อบัวดอกที่ 9 บานแล้ว ญานจะแจ่มใส สามารถเห็น “กายในกาย” “จิตในจิต” “ธรรมในธรรม”ของสัตว์โลก โดยไม่ต้องใช้วิชชาระลึกชาติ 
  • เมื่อเห็นแล้วจะพิจารณาโดยอัตโนมัติ ในขันธ์ 5 รู้เหตุ – ปัจจัย ความเกิด – ดับ ตามบารมีที่นำสร้างมานับภพชาติไม่ถ้วน 
  • ถ้าบำเพ็ญทางสมถะจะมีอิทธิฤทธิ์มีอำนาจ ถ้าทางวิปัสสนาจะมีปัญญาเลิศ 
  • บัวบานที่ 25 ดอก เป็นพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิ สามารถตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า 
  • หากไม่ลงตรัสรู้ธรรมในพระชาติสุดท้าย สร้างบารมีต่อเป็นพระผู้มีพระภาคเจ้า สำเร็จภาคตามปรารถนา เรียก มหาพุทธโพธิสัตว์ อนุตตรสัมมาสัมโพธิ

การนั่งสมาธิออกบัวบาน

1. สวดมนต์ออกบัวบาน 10 ทิศเบา ๆ พอตนได้ยิน
2. พิจารณาดอกบัวในมือจนจำติดตาติดใจ
3. เมื่อใจรู้สึกหยุด ไม่อยากสวดมนต์ออกเสียง ให้หยุดสวดมนต์ ทำใจหยุดอยู่ที่ดอกบัว เพ่งดอกบัวทำตาแบบพระพุทธรูปคือเหลือบตาลง ตาเปิดเล็กน้อย
4. ภาวนาในใจว่า
    • พุทธะเมตตา ธรรมะเมตตา สังฆะเมตตา
    • พุทธะกรุณา ธรรมะกรุณา สังฆะกรุณา
    • พุทธะมุทิตา ธรรมะมุทิตา สังฆะมุทิตา
    • พุทธะอุเบกขา ธรรมะอุเบกขา สังฆะอุเบกขา
    • สำหรับผู้ที่ภาวนาเต็มรอบไม่ได้ ภาวนาแค่ พุทธะเมตตาหรือพระแม่เมตตา
  • 5. เมื่อเห็นดอกบัวแจ่มชัดในจิต หยุดภาวนา หลับตากำหนดจิตให้ดอกบัวค่อย ๆ แย้มบานออกมาจนสุดดอก แล้วดำรงจิตมั่นอยู่ในดอกบัวด้วยองค์ภาวนาว่า
    • อ้ง มา นี แป แม โฮ่ง (เซ)
    • ซึ่งเป็นหัวใจปกรณ์ :
    • พุทธะ รัตนะ ปัทมะ วัชระ ฮุม
    • เป็นหัวใจรวมปกรณ์แห่งวิชชาวัชระยาน บำเพ็ญภาวนา
    • ต่อไปจนจิตสงบ สว่าง บัวบานเห็นพุทธะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น