วันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

กุสะลา ธัมมา



  • จากประสบการณ์ที่ผมเข้าร่วมงานสังคมทั้งหลายนั้น ผมถือว่างานศพของญาติมิตรของผู้ที่รู้จักคุ้นเคยเป็นงานที่มีความสำคัญที่สุดงานหนึ่งที่ผมจะต้องหาโอกาสไปร่วมให้ได้ ส่วนงานอื่น ๆ โดยเฉพาะงานที่อยู่ในข่ายของงานแห่งความสุข รื่นเริงนั้น อยู่ในลำดับที่รองลงไป
  • ส่วนเหตุผลนั้น ผมคิดว่าก็คงไม่ต่างจากท่านทั้งหลาย หลัก ๆ คือ เพื่อแสดงความเสียใจและเป็นกำลังใจให้กับเจ้าภาพผู้ที่สูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก ซึ่งเป็นเหตุผลที่มีน้ำหนักมากที่สุด เพราะผู้ที่เสียชีวิตไปแล้วนั้นเราคงไม่สามารถทำอะไรให้มากไปกว่าบำเพ็ญและอุทิศส่วนกุศลไปให้ ส่วนผู้ที่ยังคงมีชีวิตอยู่นี่เล่า เขาจะต้องอยู่กับความเศร้าโศกเสียใจตามความผูกพันที่เคยมีกับผู้ที่วายชนม์ หรือบางคนก็อาจต้องเผชิญกับความยากลำบากในการดำรงชีวิตหลังการสูญเสีย เหตุผลถัดไปก็เห็นจะเป็นการร่วมรำลึกถึงคุณงามความดี และแสดงความเคารพผู้ที่เสียชีวิตเป็นครั้งสุดท้ายก่อนที่จะฝังหรือเผา ส่วนเหตุผลอีกข้อหนึ่งนั้น คือ การใช้โอกาสนี้ในการพิจารณาและปลงให้เห็นความจริงของชีวิตที่ทุกคนต้องเจอ นั่นก็คือ ความตาย เพื่อการดำรงชีวิตที่เหลืออยู่อย่างไม่ประมาทนั่นเอง
  • และจากกำหนดการของงานบำเพ็ญกุศลศพโดยทั่วไปซึ่งประกอบด้วย การรดน้ำศพ, การฟังสวดพระอภิธรรมศพ และการฌาปนกิจศพ (เผา) นั้น ผมเห็นว่าอย่างน้อยเราควรจะต้องหาโอกาสไปร่วมงานฟังสวดให้ได้อย่างน้อยก็ ๑ คืน และจากการได้ยินบทสวดพระอภิธรรม ๗ บทนี้ มาตั้งแต่เด็ก รวมทั้งที่ตัวเองเคยสวดได้ตั้งแต่อยู่ชั้น ป. ๓ เมื่อครั้งบวชเป็นสามเณรตอนที่ยายเสีย จึงตั้งใจตลอดมาว่า จะต้องหาความหมายหรือคำแปลพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์นี้ให้ได้ นอกเหนือจากการนั่งหลับตาทำสมาธิสวดในใจตามพระไปทุกครั้ง
  • เพราะยิ่งอายุมากขึ้นเท่าไร โอกาสที่จะต้องไปร่วมงานสวดอภิธรรมศพก็น่าจะมีมากขึ้นเป็นเงาตามตัว และจำนวนรอบที่จะฟังพระอภิธรรมที่ขึ้นต้นด้วย “กุสะลา ธัมมา อะกุสะลา ธัมมา ... ” ลงท้ายด้วย “ ... วิคะตะปัจจะโย อะวิคะตะปัจจะโย” ในแต่ละงานก็ขึ้นอยู่กับพระวัดนั้น ๆ หรือตามที่เจ้าภาพกำหนด
  • บางวัดก็สวดจบเดียว บางวัดก็สวด ๒ หรือ ๓ จบ แต่สูงสุดที่เคยผมเคยฟังมาจะสวด ๔ จบ แต่ละจบจะใช้เวลามากน้อยเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับจังหวะ/ความเร็วของคณะสงฆ์ที่สวดร่วมกัน ลองคิดดูเล่น ๆ ก็แล้วกันว่า นับแต่วันนี้จนกระทั่งวันสุดท้ายที่เราจะสามารถไปร่วมฟังสวดศพได้นั้น เราจะต้องฟังพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ ซ้ำ ๆ อยู่อย่างนี้กี่ร้อย หรือกี่พัน จบ
  • ความหวังที่จะได้คำแปลพระอภิธรรม ๗ บทนี้ เพื่อจะได้ใช้เวลาระหว่างการนั่งฟังพระสวดศพนี้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด (นอกเหนือจากการทำใจให้สงบ) ก็เป็นจริง เมื่อไปค้นเจอหนังสืออยู่ ๒ เล่ม คือ มนต์พิธีชาวพุทธ แปล ของคณาจารย์สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง และคู่มือพุทธบริษัท ฉบับสมบูรณ์ ของธรรมสภา
  • ได้หนังสือมา ลองพยายามทำความเข้าใจคำแปลจากภาษาบาลีเป็นภาษาไทยในหนังสือ ๒ เล่มดังกล่าว (ซึ่งไม่เหมือนกันเสียทีเดียว) ด้วยความรู้และปัญญาอันน้อยนิดของผมเองก็บอกกับตัวเองว่า หลายบท หลายตอน ของพระอภิธรรม ๗ บทที่ถอดความเป็นภาษาไทยแล้วนี้ ยังจะต้องแปลไทยเป็นไทยต่ออีก
  • แต่แม้กระนั้น ผมก็ยังคิดว่า อาจจะดีกว่าที่จะนั่งฟังและท่องได้เป็นนกแก้วนกขุนทองโดยไม่เข้าใจความหมายแม้แต่น้อยในบทสวด
  • ดังนั้น ครั้งนี้ผมจึงได้ตั้งใจคัดลอก (พิมพ์) พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ รวมทั้งคำแปล พิมพ์ติดตัวไว้เวลาไปฟังพระสวดอภิธรรม โดยเลือกเอาคำแปลจากสำนักพิมพ์ธรรมสภาซึ่งเป็นสำนักพิมพ์หลักที่เผยแพร่ธรรมะของท่านพุทธทาสภิกขุ ซึ่งมีความกระชับมากกว่า
  • เมื่อผลิตเอาไว้ใช้ส่วนตัว และเห็นว่าอาจเป็นประโยชน์กับสาธุชนชาวบางโอเคที่สนใจในเรื่องแบบนี้ จึงนำเอามาลงในบล็อกเสียในคราวเดียวกัน
  • บทสวดนี้มีคำอธิบายเพิ่มเติมเป็นภาษาไทยในหนังสือ มนต์พิธีชาวพุทธ แปล ของคณาจารย์สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง ไว้ว่า “พระอภิธรรมนี้ถือเป็นหลักธรรมชั้นสูงในพระพุทธศาสนา พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงโปรดพุทธมารดา และเหล่าเทวดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพียงครั้งเดียว นิยมสวดในงานศพ มี ๗ คัมภีร์”

พระสังคิณี
กุสะลา ธัมมา, พระธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศล, ให้ผลเป็นความสุข
อะกุสะลา ธัมมา, ธรรมทั้งหลายที่เป็นอกุศล, ให้ผลเป็นความทุกข์,
อัพ๎ยากะตา ธัมมา, ธรรมทั้งหลายที่เป็นอัพยากฤต, เป็นจิตกลาง ๆ อยู่,
กะตะเม ธัมมา กุสะลา, ธรรมเหล่าใดเป็นกุศล
ยัส๎ะมิง สะมะเย, ในสมัยใด,
กามาวะจะรัง กุสะลัง จิตตัง อุปปันนัง โหติโสมะนัสสะสะหะคะตัง ญาณะสัมปะยุตตัง, กามาวจรกุศลจิตที่ร่วมด้วยโสมนัส, คือความยินดี, ประกอบด้วยญาน คือ ปัญญาเกิดขึ้น ปรารภอารมณ์ใด ๆ,
รูปารัมมะนัง วา, จะเป็นรูปารมณ์, คือยินดีในรูปเป็นอารมณ์ก็ดี,
สัททารัมมะนัง วา, จะเป็นสัททารมณ์, คือยินดีในเสียงเป็นอารมณ์ก็ดี,
คันธารัมมะนัง วา, จะเป็นคันธารมณ์, คือยินดีในกลิ่นเป็นอารมณ์ก็ดี,
ระสารัมมะนัง วา, จะเป็นรสารมณ์, คือยินดีในรสเป็นอารมณ์ก็ดี,
โผฏฐัพพารัมมะนัง วา, จะเป็นโผฏฐัพพารมณ์, คือยินดีในสิ่งที่กระทบถูกต้องกายเป็นอารมณ์ก็ดี,
ธัมมารัมมะนัง วา ยัง ยัง วา ปะนารัพภะ, จะเป็นธรรมารมณ์, คือยินดีในธรรมเป็นอารมณ์ก็ดี,
ตัส๎ะมิง สะมะเย ผัสโส โหติ, อะวิกเขโป โหติ, เย วา ปะนะ ตัส๎ะมิง สะมะเย, อัญเญปิ อัตถิ ปะฏิจจะสะมุปปันนา อะรูปิโน ธัมมา, ในสมัยนั้นผัสสะและความไม่ฟุ้งซ่านย่อมมี, อีกอย่างหนึ่ง ในสมัยนั้น ธรรมเหล่าใด, แม้อื่นมีอยู่เป็นธรรมที่ไม่มีรูป, อาศัยกันและกันเกิดขึ้น,
อิเม ธัมมา กุสะลา, ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล, ให้ผลเป็นความสุข
พระวิภังค์
ปัญจักขันธา, ขันธ์ห้าคือส่วนประกอบหน้าอย่างที่รวมเข้าเป็นชีวิต ได้แก่,
รูปักขันโธ, รูปขันธ์คือส่วนที่เป็นรูปภายนอกและภายในคือร่างกายนี้, ประกอบด้วยธาตุ ๔,
เวทะนากขันโธ, เวทนาขันธ์คือความรู้สึกเสวยอารมณ์ ที่เป็นสุข เป็นทุกข์ หรือเฉย ๆ,
สัญญากขันโธ, สัญญาขันธ์คือความจำได้หมายรู้ในอารมณ์ ๖,
สังขารักขันโธ, สังขารขันธ์คือความคิดที่ปรุงแต่งจิตให้ดีหรือชั่วหรือเป็นกลาง ๆ,
วิญญาณักขันโธ, วิญญาณขันธ์คือความรู้แจ้งในอารมณ์ ทางอายตนะทั้ง ๖,
ตัตถะ กะตะโม รูปักขันโธ, บรรดาขันธ์ทั้งหมดรูปขันธ์เป็นอย่างไร,
ยังกิญจิ รูปัง, รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง,
อะตีตานาคะตะปัจจุปปันนัง, ที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน,
อัชฌัตตัง วา, ภายในก็ตาม,
พะหิทธา วา, ภายนอกก็ตาม,
โอฬาริกัง วา สุขุมัง วา, หยาบก็ตาม ละเอียดก็ตาม
หีนัง วา ปะณีตัง วา, เลวก็ตาม ประณีตก็ตาม
ยัง ทูเร วา สันติเก วา, อยู่ไกลก็ตาม อยู่ใกล้ก็ตาม,
ตะเทกัชฌัง อะภิสัญญูหิต๎วา อะภิสังขิปิต๎วา, ย่นกล่าวร่วมกัน,
อะยัง วุจจะติ รูปักขันโธ, เรียกว่ารูปขันธ์
พระธาตุกถา
สังคะโห อะสังคะโห, การสงเคราะห์ การไม่สงเคราะห์ คือ,
สังคะหิเตนะ อะสังคะหิตัง, สิ่งที่ไม่สงเคราะห์เข้ากับสิ่งที่สงเคราะห์แล้ว,
อะสังคะหิเตนะ สังคะหิตัง, สิ่งที่สงเคราะห์เข้ากับสิ่งที่สงเคราะห์ไม่ได้,
สังคะหิเตนะ สังคะหิตัง, สิ่งที่สงเคราะห์เข้ากับสิ่งที่สงเคราะห์ได้,
อะสังคะหิเตนะ อะสังคะหิตัง, สิ่งที่ไม่สงเคราะห์เข้ากับสิ่งที่สงเคราะห์ไม่ได้,
สัมปะโยโค วิปปะโยโค, การอยู่ด้วยกัน การพลัดพรากกัน คือ,
สัมปะยุตเตนะ วิปปะยุตตัง, การพลัดพรากจากสิ่งที่อยู่ด้วยกัน
วิปปะยุตเตนะ สัมปะยุตตัง, การอยู่ร่วมกับสิ่งที่พลัดพรากไป
อะสังคะหิตัง, จัดเป็นสิ่งที่สงเคราะห์ไม่ได้
พระปุคคลปัญญัตติ
ฉะปัญญัตติโย, บัญญัติ ๖ ประการ, อันบัณฑิตผู้รู้พึงบัญญัติขึ้น คือ,
ขันธะปัญญัตติ, การบัญญัติธรรมที่เป็นหมวดหมู่กันเรียกว่าขันธ์ มี ๕,
อายะตะนะปัญญัตติ, การบัญญัติธรรมอันเป็นบ่อเกิด (แห่งทุกข์และไม่ทุกข์), เรียกว่าอายตนะ มี ๑๒,
ธาตุปัญญัตติ, การบัญญัติธรรมที่ทรงตัวอยู่เรียกว่าธาตุ มี ๑๘,
สัจจะปัญญัตติ, การบัญญัติธรรมที่เป็นของจริงเรียกว่าสัจจะ มี ๔, คือ อริยสัจจ์ ๔,
อินท๎ริยะปัญญัตติ, การบัญญัติธรรมที่เป็นใหญ่เรียกว่าอินทรีย์ มี ๒๒,
ปุคคะละปัญญัตติ, การบัญญัติจำพวกบุคคลของบุคคลทั้งหลาย,
กิตตาวะตา ปุคคะลานัง ปุคคะละปัญญัตติ, บุคคลบัญญัติของบุคคลมีเท่าไร,
สะมะยะวิมุตโต อะสะมะยะวิมุตโต, ผู้พ้นในกาลบางคราว, ผู้พ้นอย่างเด็ดขาด,
กุปปะธัมโม อะกุปปะธัมโม, ผู้มีธรรมที่กำเริบได้, ผู้มีธรรมที่กำเริบไม่ได้,
ปะริหานะธัมโม อะปะริหานะธัมโม, ผู้มีธรรมที่เสื่อมได้, ผู้มีธรรมที่เสื่อมไม่ได้,
เจตะนาภัพโพ อะนุรักขะนาภัพโพ, ผู้มีธรรมที่ควรแก่เจตนา, ผู้มีธรรมที่ควรแก่การรักษา,
ปุถุชชะโน โคต๎ระภู, ผู้เป็นปุถุชน, ผู้คร่อมโคตร,
ภะยูปะระโต อะภะยูปะระโต, ผู้เว้นชั่วเพราะกลัว, ผู้เว้นชั่วไม่ใช่เพราะกลัว,
ภัพพาคะมะโน อะภัพพาคะมะโน, ผู้ควรแก่มรรคผลนิพพาน, ผู้ไม่ควรแก่มรรคผลนิพพาน,
นิยะโต อะนิยะโต, ผู้เที่ยง, ผู้ไม่เที่ยง,
ปะฏิปันนะโก ผะเลฏฐิโต, ผู้ปฏิบัติอริยมรรค, ผู้ตั้งอยู่ในอริยผล,
อะระหา อะระหัตตายะ ปะฏิปันโน, ผู้เป็นพระอรหันต์, ผู้ปฏิบัติเพื่อเป็นพระอรหันต์
พระกถาวัตถุ
ปุคคะโล อุปะลัพภะติ สัจฉิกัตถะปะระมัตเถนาติ, ค้นหาบุคคลไม่ได้โดยปรมัตถ์, คือความหมายอันแท้จริงหรือ ?,
อามันตา, ถูกแล้ว,
โย สัจฉิกัตโถ ปะระมัตโถ, ตะโต โส ปุคคะโล อุปะลัพภะติ, สัจฉิกัตถะปะระมัตเถนาติ, ปรมัตถ์ คือความหมายอันแท้จริงอันใดมีอยู่, ค้นหาบุคคลนั้นไม่ได้โดยปรมัตถ์, คือความหมายอันแท้จริงอันนั้นหรือ ?
นะ เหวัง วัตตัพเพ, ท่านไม่ควรกล่าวอย่างนั้น,
อาชานาหิ นิคคะหัง หัญจิ ปุคคะโล อุปะลัพภะติ, สัจฉิกัตถะปะระมัตเถนะ เตนะ วะตะ เร วัตตัพเพ, โย สัจฉิกัตโถ ปะระมัตโถ ตะโต โส ปุคคะโล อุปะลัพภะติ สัจฉิกัตถะปะระมัตเถนาติ มิจฉา, ท่านจงรู้นิคหะ (การข่ม ปราม) เถิด, ถ้าท่านค้นหาบุคคลไม่ได้โดยปรมัตถ์, คือโดยความหมายอันแท้จริงแล้ว, ท่านก็ควรกล่าวด้วยเหตุนั้นว่าปรมัตถ์, คือความหมายอันแท้จริงอันใดมีอยู่, เราค้นหาบุคคลนั้นไม่ได้โดยปรมัตถ์, คือโดยความหมายอันแท้จริงนั้น, คำตอบของท่านที่ว่าปรมัตถ์ คือความหมายอันแท้จริงอันใดมีอยู่, เราค้นหาบุคคลนั้นไม่ได้โดยปรมัตถ์, คือโดยความหมายอันแท้จริงอันนั้นจึงผิด,
พระยมก
เย เกจิ กุสะลา ธัมมา, ธรรมบางเหล่าเป็นกุศล,
สัพเพ เต กุสะละมูลา, ธรรมเหล่านั้นทั้งหมดมีกุศลเป็นมูล,
เย วา ปะนะ กุสะละมูลา, อีกอย่างหนึ่งธรรมเหล่าใด มีกุศลเป็นมูล,
สัพเพ เต ธัมมา กุสะลา, ธรรมเหล่านั้นทั้งหมดก็เป็นกุศล,
เย เกจิ กุสะลา ธัมมา, ธรรมบางเหล่าเป็นกุศล,
สัพเพ เต กะสุละมูเลนะ เอกะมูลา, ธรรมเหล่านั้น ทั้งหมดมีมูลอันเดียวกับธรรมที่มีกุศลเป็นมูล,
เย วา ปะนะ กุสะละมูเลนะ เอกะมูลา, อีกอย่างหนึ่งธรรมเหล่าใดมีมูลอันเดียวกับธรรมที่มีกุศล เป็นมูล,
สัพเพ เต ธัมมากุสะลา, ธรรมเหล่านั้นทั้งหมดเป็นกุศล
พระมหาปัฏฐาน
เหตุปัจจะโย, ธรรมที่มีเหตุเป็นปัจจัย,
อารัมมะณะปัจจะโย, ธรรมที่มีอารมณ์เป็นปัจจัย,
อะธิปะติปัจจะโย, ธรรมที่มีอธิบดีเป็นปัจจัย,
อะนันตะระปัจจะโย, ธรรมที่มีปัจจัยไม่มีอะไรคั่นในระหว่าง,
สะมะนันตะระปัจจะโย, ธรรมที่มีปัจจัยมีที่สุดเสมอกัน,
สะหะชาตะปัจจะโย, ธรรมที่เกิดพร้อมกับปัจจัย,
อัญญะมัญญะปัจจะโย, ธรรมที่เป็นปัจจัยของกันและกัน,
นิสสะยะปัจจะโย, ธรรมที่มีนิสัยเป็นปัจจัย,
อุปะนิสสะยะปัจจะโย, ธรรมที่มีอุปนิสัยเป็นปัจจัย,
ปุเรชาตะปัจจะโย, ธรรมที่มีการเกิดก่อนเป็นปัจจัย,
ปัจฉาชาตะปัจจะโย, ธรรมที่มีการเกิดภายหลังเป็นปัจจัย,
อาเสวะนะปัจจะโย, ธรรมที่มีการเสพเป็นปัจจัย,
กัมมะปัจจะโย, ธรรมที่มีกรรมเป็นปัจจัย,
วิปากะปัจจะโย, ธรรมที่มีวิบากเป็นปัจจัย,
อาหาระปัจจะโย, ธรรมที่มีอาหารเป็นปัจจัย,
อินท๎ริยะปัจจะโย, ธรรมที่มีอินทรีย์เป็นปัจจัย,
ฌานะปัจจะโย, ธรรมที่มีฌานเป็นปัจจัย,
มัคคะปัจจะโย, ธรรมที่มีมรรคเป็นปัจจัย,
สัมปะยุตตะปัจจะโย, ธรรมที่มีการประกอบเป็นปัจจัย,
วิปปะยุตตะปัจจะโย, ธรรมที่ไม่มีการประกอบเป็นปัจจัย,
อัตถิปัจจะโย, ธรรมที่มีปัจจัย,
นัตถิปัจจะโย, ธรรมที่ไม่มีปัจจัย,
วิคะตะปัจจะโย, ธรรมที่มีการอยู่ปราศจากเป็นปัจจัย,
อะวิคะตะปัจจะโย, ธรรมที่มีการอยู่ไม่ปราศจากเป็นปัจจัย
  • จากประสบการณ์ที่ผมเข้าร่วมงานสังคมทั้งหลายนั้น ผมถือว่างานศพของญาติมิตรของผู้ที่รู้จักคุ้นเคยเป็นงานที่มีความสำคัญที่สุดงานหนึ่งที่ผมจะต้องหาโอกาสไปร่วมให้ได้ ส่วนงานอื่น ๆ โดยเฉพาะงานที่อยู่ในข่ายของงานแห่งความสุข รื่นเริงนั้น อยู่ในลำดับที่รองลงไป
  • ส่วนเหตุผลนั้น ผมคิดว่าก็คงไม่ต่างจากท่านทั้งหลาย หลัก ๆ คือ เพื่อแสดงความเสียใจและเป็นกำลังใจให้กับเจ้าภาพผู้ที่สูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก ซึ่งเป็นเหตุผลที่มีน้ำหนักมากที่สุด เพราะผู้ที่เสียชีวิตไปแล้วนั้นเราคงไม่สามารถทำอะไรให้มากไปกว่าบำเพ็ญและอุทิศส่วนกุศลไปให้ 
  • ส่วนผู้ที่ยังคงมีชีวิตอยู่นี่เล่า เขาจะต้องอยู่กับความเศร้าโศกเสียใจตามความผูกพันที่เคยมีกับผู้ที่วายชนม์ หรือบางคนก็อาจต้องเผชิญกับความยากลำบากในการดำรงชีวิตหลังการสูญเสีย เหตุผลถัดไปก็เห็นจะเป็นการร่วมรำลึกถึงคุณงามความดี และแสดงความเคารพผู้ที่เสียชีวิตเป็นครั้งสุดท้ายก่อนที่จะฝังหรือเผา ส่วนเหตุผลอีกข้อหนึ่งนั้น คือ การใช้โอกาสนี้ในการพิจารณาและปลงให้เห็นความจริงของชีวิตที่ทุกคนต้องเจอ นั่นก็คือ ความตาย เพื่อการดำรงชีวิตที่เหลืออยู่อย่างไม่ประมาทนั่นเอง
  • และจากกำหนดการของงานบำเพ็ญกุศลศพโดยทั่วไปซึ่งประกอบด้วย การรดน้ำศพ, การฟังสวดพระอภิธรรมศพ และการฌาปนกิจศพ (เผา) นั้น 
  • ผมเห็นว่าอย่างน้อยเราควรจะต้องหาโอกาสไปร่วมงานฟังสวดให้ได้อย่างน้อยก็ ๑ คืน และจากการได้ยินบทสวดพระอภิธรรม ๗ บทนี้ มาตั้งแต่เด็ก รวมทั้งที่ตัวเองเคยสวดได้ตั้งแต่อยู่ชั้น ป. ๓ เมื่อครั้งบวชเป็นสามเณรตอนที่ยายเสีย จึงตั้งใจตลอดมาว่า จะต้องหาความหมายหรือคำแปลพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์นี้ให้ได้ นอกเหนือจากการนั่งหลับตาทำสมาธิสวดในใจตามพระไปทุกครั้ง
  • เพราะยิ่งอายุมากขึ้นเท่าไร โอกาสที่จะต้องไปร่วมงานสวดอภิธรรมศพก็น่าจะมีมากขึ้นเป็นเงาตามตัว และจำนวนรอบที่จะฟังพระอภิธรรมที่ขึ้นต้นด้วย “กุสะลา ธัมมา อะกุสะลา ธัมมา ... ” ลงท้ายด้วย “ ... วิคะตะปัจจะโย อะวิคะตะปัจจะโย” ในแต่ละงานก็ขึ้นอยู่กับพระวัดนั้น ๆ หรือตามที่เจ้าภาพกำหนด
  • างวัดก็สวดจบเดียว บางวัดก็สวด ๒ หรือ ๓ จบ แต่สูงสุดที่เคยผมเคยฟังมาจะสวด ๔ จบ แต่ละจบจะใช้เวลามากน้อยเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับจังหวะ/ความเร็วของคณะสงฆ์ที่สวดร่วมกัน ลองคิดดูเล่น ๆ ก็แล้วกันว่า นับแต่วันนี้จนกระทั่งวันสุดท้ายที่เราจะสามารถไปร่วมฟังสวดศพได้นั้น เราจะต้องฟังพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ ซ้ำ ๆ อยู่อย่างนี้กี่ร้อย หรือกี่พัน จบ
  • ความหวังที่จะได้คำแปลพระอภิธรรม ๗ บทนี้ เพื่อจะได้ใช้เวลาระหว่างการนั่งฟังพระสวดศพนี้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด (นอกเหนือจากการทำใจให้สงบ) ก็เป็นจริง เมื่อไปค้นเจอหนังสืออยู่ ๒ เล่ม คือ มนต์พิธีชาวพุทธ แปล ของคณาจารย์สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง และคู่มือพุทธบริษัท ฉบับสมบูรณ์ ของธรรมสภา
  • ได้หนังสือมา ลองพยายามทำความเข้าใจคำแปลจากภาษาบาลีเป็นภาษาไทยในหนังสือ ๒ เล่มดังกล่าว (ซึ่งไม่เหมือนกันเสียทีเดียว) ด้วยความรู้และปัญญาอันน้อยนิดของผมเองก็บอกกับตัวเองว่า หลายบท หลายตอน ของพระอภิธรรม ๗ บทที่ถอดความเป็นภาษาไทยแล้วนี้ ยังจะต้องแปลไทยเป็นไทยต่ออีก
  • แต่แม้กระนั้น ผมก็ยังคิดว่า อาจจะดีกว่าที่จะนั่งฟังและท่องได้เป็นนกแก้วนกขุนทองโดยไม่เข้าใจความหมายแม้แต่น้อยในบทสวด
  • ดังนั้น ครั้งนี้ผมจึงได้ตั้งใจคัดลอก (พิมพ์) พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ รวมทั้งคำแปล พิมพ์ติดตัวไว้เวลาไปฟังพระสวดอภิธรรม โดยเลือกเอาคำแปลจากสำนักพิมพ์ธรรมสภาซึ่งเป็นสำนักพิมพ์หลักที่เผยแพร่ธรรมะของท่านพุทธทาสภิกขุ ซึ่งมีความกระชับมากกว่า
  • เมื่อผลิตเอาไว้ใช้ส่วนตัว และเห็นว่าอาจเป็นประโยชน์กับสาธุชนชาวบางโอเคที่สนใจในเรื่องแบบนี้ จึงนำเอามาลงในบล็อกเสียในคราวเดียวกัน
  • บทสวดนี้มีคำอธิบายเพิ่มเติมเป็นภาษาไทยในหนังสือ มนต์พิธีชาวพุทธ แปล ของคณาจารย์สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง ไว้ว่า “พระอภิธรรมนี้ถือเป็นหลักธรรมชั้นสูงในพระพุทธศาสนา พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงโปรดพุทธมารดา และเหล่าเทวดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพียงครั้งเดียว นิยมสวดในงานศพ มี ๗ คัมภีร์”
  • พระสังคิณี
  • กุสะลา ธัมมา, พระธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศล, ให้ผลเป็นความสุข
  • อะกุสะลา ธัมมา, ธรรมทั้งหลายที่เป็นอกุศล, ให้ผลเป็นความทุกข์,
  • อัพ๎ยากะตา ธัมมา, ธรรมทั้งหลายที่เป็นอัพยากฤต, เป็นจิตกลาง ๆ อยู่,
  • กะตะเม ธัมมา กุสะลา, ธรรมเหล่าใดเป็นกุศล
  • ยัส๎ะมิง สะมะเย, ในสมัยใด,
  • กามาวะจะรัง กุสะลัง จิตตัง อุปปันนัง โหติโสมะนัสสะสะหะคะตัง ญาณะสัมปะยุตตัง, กามาวจรกุศลจิตที่ร่วมด้วยโสมนัส, คือความยินดี, ประกอบด้วยญาน คือ ปัญญาเกิดขึ้น ปรารภอารมณ์ใด ๆ,
  • รูปารัมมะนัง วา, จะเป็นรูปารมณ์, คือยินดีในรูปเป็นอารมณ์ก็ดี,
  • สัททารัมมะนัง วา, จะเป็นสัททารมณ์, คือยินดีในเสียงเป็นอารมณ์ก็ดี,
  • คันธารัมมะนัง วา, จะเป็นคันธารมณ์, คือยินดีในกลิ่นเป็นอารมณ์ก็ดี,
  • ระสารัมมะนัง วา, จะเป็นรสารมณ์, คือยินดีในรสเป็นอารมณ์ก็ดี,
  • โผฏฐัพพารัมมะนัง วา, จะเป็นโผฏฐัพพารมณ์, คือยินดีในสิ่งที่กระทบถูกต้องกายเป็นอารมณ์ก็ดี,
  • ธัมมารัมมะนัง วา ยัง ยัง วา ปะนารัพภะ, จะเป็นธรรมารมณ์, คือยินดีในธรรมเป็นอารมณ์ก็ดี,
  • ตัส๎ะมิง สะมะเย ผัสโส โหติ, อะวิกเขโป โหติ, เย วา ปะนะ ตัส๎ะมิง สะมะเย, อัญเญปิ อัตถิ ปะฏิจจะสะมุปปันนา อะรูปิโน ธัมมา, ในสมัยนั้นผัสสะและความไม่ฟุ้งซ่านย่อมมี, อีกอย่างหนึ่ง ในสมัยนั้น ธรรมเหล่าใด, แม้อื่นมีอยู่เป็นธรรมที่ไม่มีรูป, อาศัยกันและกันเกิดขึ้น,
  • อิเม ธัมมา กุสะลา, ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล, ให้ผลเป็นความสุข
  • พระวิภังค์
  • ปัญจักขันธา, ขันธ์ห้าคือส่วนประกอบหน้าอย่างที่รวมเข้าเป็นชีวิต ได้แก่,
  • รูปักขันโธ, รูปขันธ์คือส่วนที่เป็นรูปภายนอกและภายในคือร่างกายนี้, ประกอบด้วยธาตุ ๔,
  • เวทะนากขันโธ, เวทนาขันธ์คือความรู้สึกเสวยอารมณ์ ที่เป็นสุข เป็นทุกข์ หรือเฉย ๆ,
  • สัญญากขันโธ, สัญญาขันธ์คือความจำได้หมายรู้ในอารมณ์ ๖,
  • สังขารักขันโธ, สังขารขันธ์คือความคิดที่ปรุงแต่งจิตให้ดีหรือชั่วหรือเป็นกลาง ๆ,
  • วิญญาณักขันโธ, วิญญาณขันธ์คือความรู้แจ้งในอารมณ์ ทางอายตนะทั้ง ๖,
  • ตัตถะ กะตะโม รูปักขันโธ, บรรดาขันธ์ทั้งหมดรูปขันธ์เป็นอย่างไร,
  • ยังกิญจิ รูปัง, รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง,
  • อะตีตานาคะตะปัจจุปปันนัง, ที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน,
  • อัชฌัตตัง วา, ภายในก็ตาม,
  • พะหิทธา วา, ภายนอกก็ตาม,
  • โอฬาริกัง วา สุขุมัง วา, หยาบก็ตาม ละเอียดก็ตาม
  • หีนัง วา ปะณีตัง วา, เลวก็ตาม ประณีตก็ตาม
  • ยัง ทูเร วา สันติเก วา, อยู่ไกลก็ตาม อยู่ใกล้ก็ตาม,
  • ตะเทกัชฌัง อะภิสัญญูหิต๎วา อะภิสังขิปิต๎วา, ย่นกล่าวร่วมกัน,
  • อะยัง วุจจะติ รูปักขันโธ, เรียกว่ารูปขันธ์
  • พระธาตุกถา
  • สังคะโห อะสังคะโห, การสงเคราะห์ การไม่สงเคราะห์ คือ,
  • สังคะหิเตนะ อะสังคะหิตัง, สิ่งที่ไม่สงเคราะห์เข้ากับสิ่งที่สงเคราะห์แล้ว,
  • อะสังคะหิเตนะ สังคะหิตัง, สิ่งที่สงเคราะห์เข้ากับสิ่งที่สงเคราะห์ไม่ได้,
  • สังคะหิเตนะ สังคะหิตัง, สิ่งที่สงเคราะห์เข้ากับสิ่งที่สงเคราะห์ได้,
  • อะสังคะหิเตนะ อะสังคะหิตัง, สิ่งที่ไม่สงเคราะห์เข้ากับสิ่งที่สงเคราะห์ไม่ได้,
  • สัมปะโยโค วิปปะโยโค, การอยู่ด้วยกัน การพลัดพรากกัน คือ,
  • สัมปะยุตเตนะ วิปปะยุตตัง, การพลัดพรากจากสิ่งที่อยู่ด้วยกัน
  • วิปปะยุตเตนะ สัมปะยุตตัง, การอยู่ร่วมกับสิ่งที่พลัดพรากไป
  • อะสังคะหิตัง, จัดเป็นสิ่งที่สงเคราะห์ไม่ได้
  • พระปุคคลปัญญัตติ
  • ฉะปัญญัตติโย, บัญญัติ ๖ ประการ, อันบัณฑิตผู้รู้พึงบัญญัติขึ้น คือ,
  • ขันธะปัญญัตติ, การบัญญัติธรรมที่เป็นหมวดหมู่กันเรียกว่าขันธ์ มี ๕,
  • อายะตะนะปัญญัตติ, การบัญญัติธรรมอันเป็นบ่อเกิด (แห่งทุกข์และไม่ทุกข์), เรียกว่าอายตนะ มี ๑๒,
  • ธาตุปัญญัตติ, การบัญญัติธรรมที่ทรงตัวอยู่เรียกว่าธาตุ มี ๑๘,
  • สัจจะปัญญัตติ, การบัญญัติธรรมที่เป็นของจริงเรียกว่าสัจจะ มี ๔, คือ อริยสัจจ์ ๔,
  • อินท๎ริยะปัญญัตติ, การบัญญัติธรรมที่เป็นใหญ่เรียกว่าอินทรีย์ มี ๒๒,
  • ปุคคะละปัญญัตติ, การบัญญัติจำพวกบุคคลของบุคคลทั้งหลาย,
  • กิตตาวะตา ปุคคะลานัง ปุคคะละปัญญัตติ, บุคคลบัญญัติของบุคคลมีเท่าไร,
  • สะมะยะวิมุตโต อะสะมะยะวิมุตโต, ผู้พ้นในกาลบางคราว, ผู้พ้นอย่างเด็ดขาด,
  • กุปปะธัมโม อะกุปปะธัมโม, ผู้มีธรรมที่กำเริบได้, ผู้มีธรรมที่กำเริบไม่ได้,
  • ปะริหานะธัมโม อะปะริหานะธัมโม, ผู้มีธรรมที่เสื่อมได้, ผู้มีธรรมที่เสื่อมไม่ได้,
  • เจตะนาภัพโพ อะนุรักขะนาภัพโพ, ผู้มีธรรมที่ควรแก่เจตนา, ผู้มีธรรมที่ควรแก่การรักษา,
  • ปุถุชชะโน โคต๎ระภู, ผู้เป็นปุถุชน, ผู้คร่อมโคตร,
  • ภะยูปะระโต อะภะยูปะระโต, ผู้เว้นชั่วเพราะกลัว, ผู้เว้นชั่วไม่ใช่เพราะกลัว,
  • ภัพพาคะมะโน อะภัพพาคะมะโน, ผู้ควรแก่มรรคผลนิพพาน, ผู้ไม่ควรแก่มรรคผลนิพพาน,
  • นิยะโต อะนิยะโต, ผู้เที่ยง, ผู้ไม่เที่ยง,
  • ปะฏิปันนะโก ผะเลฏฐิโต, ผู้ปฏิบัติอริยมรรค, ผู้ตั้งอยู่ในอริยผล,
  • อะระหา อะระหัตตายะ ปะฏิปันโน, ผู้เป็นพระอรหันต์, ผู้ปฏิบัติเพื่อเป็นพระอรหันต์
  • พระกถาวัตถุ
  • ปุคคะโล อุปะลัพภะติ สัจฉิกัตถะปะระมัตเถนาติ, ค้นหาบุคคลไม่ได้โดยปรมัตถ์, คือความหมายอันแท้จริงหรือ ?,
  • อามันตา, ถูกแล้ว,
  • โย สัจฉิกัตโถ ปะระมัตโถ, ตะโต โส ปุคคะโล อุปะลัพภะติ, สัจฉิกัตถะปะระมัตเถนาติ, ปรมัตถ์ คือความหมายอันแท้จริงอันใดมีอยู่, ค้นหาบุคคลนั้นไม่ได้โดยปรมัตถ์, คือความหมายอันแท้จริงอันนั้นหรือ ?
  • นะ เหวัง วัตตัพเพ, ท่านไม่ควรกล่าวอย่างนั้น,
  • อาชานาหิ นิคคะหัง หัญจิ ปุคคะโล อุปะลัพภะติ, สัจฉิกัตถะปะระมัตเถนะ เตนะ วะตะ เร วัตตัพเพ, โย สัจฉิกัตโถ ปะระมัตโถ ตะโต โส ปุคคะโล อุปะลัพภะติ สัจฉิกัตถะปะระมัตเถนาติ มิจฉา, ท่านจงรู้นิคหะ (การข่ม ปราม) เถิด, ถ้าท่านค้นหาบุคคลไม่ได้โดยปรมัตถ์, คือโดยความหมายอันแท้จริงแล้ว, ท่านก็ควรกล่าวด้วยเหตุนั้นว่าปรมัตถ์, คือความหมายอันแท้จริงอันใดมีอยู่, เราค้นหาบุคคลนั้นไม่ได้โดยปรมัตถ์, คือโดยความหมายอันแท้จริงนั้น, คำตอบของท่านที่ว่าปรมัตถ์ คือความหมายอันแท้จริงอันใดมีอยู่, เราค้นหาบุคคลนั้นไม่ได้โดยปรมัตถ์, คือโดยความหมายอันแท้จริงอันนั้นจึงผิด,
  • พระยมก
  • เย เกจิ กุสะลา ธัมมา, ธรรมบางเหล่าเป็นกุศล,
  • สัพเพ เต กุสะละมูลา, ธรรมเหล่านั้นทั้งหมดมีกุศลเป็นมูล,
  • เย วา ปะนะ กุสะละมูลา, อีกอย่างหนึ่งธรรมเหล่าใด มีกุศลเป็นมูล,
  • สัพเพ เต ธัมมา กุสะลา, ธรรมเหล่านั้นทั้งหมดก็เป็นกุศล,
  • เย เกจิ กุสะลา ธัมมา, ธรรมบางเหล่าเป็นกุศล,
  • สัพเพ เต กะสุละมูเลนะ เอกะมูลา, ธรรมเหล่านั้น ทั้งหมดมีมูลอันเดียวกับธรรมที่มีกุศลเป็นมูล,
  • เย วา ปะนะ กุสะละมูเลนะ เอกะมูลา, อีกอย่างหนึ่งธรรมเหล่าใดมีมูลอันเดียวกับธรรมที่มีกุศล เป็นมูล,
  • สัพเพ เต ธัมมากุสะลา, ธรรมเหล่านั้นทั้งหมดเป็นกุศล
  • พระมหาปัฏฐาน
  • เหตุปัจจะโย, ธรรมที่มีเหตุเป็นปัจจัย,
  • อารัมมะณะปัจจะโย, ธรรมที่มีอารมณ์เป็นปัจจัย,
  • อะธิปะติปัจจะโย, ธรรมที่มีอธิบดีเป็นปัจจัย,
  • อะนันตะระปัจจะโย, ธรรมที่มีปัจจัยไม่มีอะไรคั่นในระหว่าง,
  • สะมะนันตะระปัจจะโย, ธรรมที่มีปัจจัยมีที่สุดเสมอกัน,
  • สะหะชาตะปัจจะโย, ธรรมที่เกิดพร้อมกับปัจจัย,
  • อัญญะมัญญะปัจจะโย, ธรรมที่เป็นปัจจัยของกันและกัน,
  • นิสสะยะปัจจะโย, ธรรมที่มีนิสัยเป็นปัจจัย,
  • อุปะนิสสะยะปัจจะโย, ธรรมที่มีอุปนิสัยเป็นปัจจัย,
  • ปุเรชาตะปัจจะโย, ธรรมที่มีการเกิดก่อนเป็นปัจจัย,
  • ปัจฉาชาตะปัจจะโย, ธรรมที่มีการเกิดภายหลังเป็นปัจจัย,
  • อาเสวะนะปัจจะโย, ธรรมที่มีการเสพเป็นปัจจัย,
  • กัมมะปัจจะโย, ธรรมที่มีกรรมเป็นปัจจัย,
  • วิปากะปัจจะโย, ธรรมที่มีวิบากเป็นปัจจัย,
  • อาหาระปัจจะโย, ธรรมที่มีอาหารเป็นปัจจัย,
  • อินท๎ริยะปัจจะโย, ธรรมที่มีอินทรีย์เป็นปัจจัย,
  • ฌานะปัจจะโย, ธรรมที่มีฌานเป็นปัจจัย,
  • มัคคะปัจจะโย, ธรรมที่มีมรรคเป็นปัจจัย,
  • สัมปะยุตตะปัจจะโย, ธรรมที่มีการประกอบเป็นปัจจัย,
  • วิปปะยุตตะปัจจะโย, ธรรมที่ไม่มีการประกอบเป็นปัจจัย,
  • อัตถิปัจจะโย, ธรรมที่มีปัจจัย,
  • นัตถิปัจจะโย, ธรรมที่ไม่มีปัจจัย,
  • วิคะตะปัจจะโย, ธรรมที่มีการอยู่ปราศจากเป็นปัจจัย,
  • อะวิคะตะปัจจะโย, ธรรมที่มีการอยู่ไม่ปราศจากเป็นปัจจัย
๑. พระอภิธรรม คืออะไร?
พระอภิธรรม 
แปลว่า 
ธรรมอันประเสริฐ ธรรมอันยิ่ง 
ธรรมที่อยู่แท้จริงปราศจากสมมุติ 

  • เนื้อความในพระอภิธรรมเกือบทั้งหมด จะกล่าวถึงปรมัตถธรรมล้วน ๆ หมายถึงธรรมที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง หรือมีความสำคัญมาก พระอภิธรรมเป็นปรมัตถธรรม คือธรรมขั้นสูง

พระอภิธรรม 
เรียกให้เต็มว่า 
พระอภิธรรมปิฎก 
เป็น  ๑ ใน ๓ แห่งพระไตรปิฎก 
ได้แก่ 
พระวินัยปิฎก 
พระสูตตันตปิฎก 
และพระอภิธรรมปิฎก
๒. พระอภิธรรม ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง?
  • พระอภิธรรมปิฎกมีอยู่ทั้งสิ้น ๔๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ แบ่งออกเป็น ๗ คัมภีร์ เรียกว่า พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ ที่ใช้สวดในงานศพ ได้แก่
  • ๑. คัมภีร์ธัมมสังคณี ว่าด้วยธรรมะที่ประมวลไว้เป็นหมวดเป็นกลุ่ม เรียกว่า กัณฑ์ มี ๔ กัณฑ์ ที่ใช้สวดในงานศพ คือ มาติกา (กุสลา ธัมมา อกุสลา ธัมมา อัพยากตา ธัมมา ฯ)
  • ๒. คัมภีร์วิภังค์ แสดงการจำแนกปรมัตถธรรมออกเป็นข้อ ๆ  แบ่งออกเป็น ๑๘ วิภังค์ เช่น จำแนกขันธ์ หมายถึง ขันธ์ ๕ อันประกอบด้วย รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ เรียกว่า ขันธวิภังค์
  • ๓. คัมภีร์ธาตุกถา แสดงการจัดหมวดหมู่ของปรมัตถธรรม โดยสงเคราะห์ด้วย ธาตุ (ธรรมชาติที่ทรงไว้ซึ่งสภาพของตน)
  • ๔. คัมภีร์ปุคคลบัญญัติ ว่าด้วยบัญญัติ ๖ ประการและแสดงรายละเอียดเฉพาะบัญญัติที่เกี่ยวกับบุคคล
  • ๕. คัมภีร์กถาวัตถุ ว่าด้วยคำถามคำตอบประมาณ ๒๑๙ หัวข้อ ที่ถือเป็นหลักในการตัดสินพระธรรมวินัย
  • ๖. คัมภีร์ยมก ในคัมภีร์นี้จะยกหัวข้อปรมัตถธรรมขึ้นวินิจฉัยด้วยวิธีถามตอบ โดยตั้งคำถามย้อนกันเป็นคู่ ๆ
  • ๗. คัมภีร์มหาปัฏฐาน  แสดงเหตุปัจจัยและแสดงความสัมพันธ์อันเป็นเหตุ เป็นผลที่อิงอาศัยซึ่งกันและกันแห่งปรมัตถธรรมทั้งปวงโดยพิสดาร (เหตุ ปัจจโย ฯ ที่ใช้สวดต่อจาก กุสลา ธัมมา ฯ ในงานศพ)
  • เรียกโดยย่อว่า คือ 
    • สัง  วิ  ธา  ปุ  กะ  ยะ  ปะ  (คาถาหัวใจพระอภิธรรม)


๓. ใจความสำคัญของพระอภิธรรม กล่าวถึงเรื่องอะไรบ้าง?
                พระอภิธรรม  ว่าด้วยเรื่องของปรมัตถธรรม มี ๔ ประการ อันได้แก่ 
    • ๑. จิต  
    • ๒. เจตสิก  
    • ๓. รูป และ 
    • ๔. นิพพาน  

เป็นสภาวธรรม ล้วน ๆ  ทางพระอภิธรรมถือว่าบุคคลนั้นไม่มี มีแต่สิ่งซึ่งเป็นที่ประชุมกันของ จิต เจตสิก รูป เท่านั้น ส่วนที่เรียกชื่อว่า  นาย ก. นาย ข. นั้นเรียกโดยสมมุติโวหารเท่านั้น  สรุปแล้ว พระอภิธรรมก็คือ ธรรมะหมวดที่ ๓  ในพระไตรปิฎกที่สอนให้รู้จักธรรมชาติอันแท้จริง ที่มีอยู่ในตัวเราและสัตว์ทั้งหลาย อันได้แก่ จิต เจตสิก รูป และรู้จักธรรมชาติอันแท้จริงที่มีอยู่ในตัวเราและสัตว์ทั้งหลายอันได้แก่ จิต เจตสิก รูป และรู้จักพระนิพพาน ซึ่งเป็นจุดหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนา
  • ธรรมชาติทั้ง ๔ คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน นี้เรียกว่า  ปรมัตถธรรม หากสรูปลงได้  ๒ ประการ คือ 
  • ๑. รูป 
  • ๒. นาม (จิต  เจตสิก  นิพพาน) 
  • หรือ ร่างกาย กับ จิตใจ  นั่นเอง


๔. เหตุใดจึงมีการสวดพระอภิธรรมในงานศพ?
                ในครั้งพุทธกาล พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อครั้งเสด็จไปโปรดพุทธมารดา  ได้ทรงแสดงพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ เพื่อตอบแทนพระคุณของมารดา ที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์  (พระพุทธมารดาจุติที่สวรรค์ชั้นดุสิต เป็นสวรรค์ชั้นที่สูงกว่าดาวดึงส์)  เป็นสวรรค์ชั้นกลาง ๆ  เทวดาชั้นต่ำก็สามารถขั้นไปฟังธรรมได้  ชั้นที่สูงกว่าก็ลงมาฟังธรรมได้ ทำให้เหล่าเทวดาทั้งหลายได้บรรลุธรรมพร้อมกัน มีพระโสดาบันเป็นเบื้องต่ำ  และอนาคามีเป็นเบื้องสูง ทรงใช้เวลาในการแสดงธรรม ๓ เดือน (๑ พรรษา)
  • ปัจจุบันพระสงฆ์ใช้ธรรมะหมวดอภิธรรมเป็นบทสวดเนื่องในการสวดอภิธรรมศพ  เพื่อเป็นการแสดงให้เห็นสัจธรรมของชีวิตว่า โดยปรมัตถธรรมแท้จริงแล้ว  ชีวิตประกอบด้วยธรรมชาติ ๒ ส่วน คือ 
    • ส่วนที่เป็นรูป คือ ร่างกาย อันประกอบด้วยธรรมชาติ ๔ อย่าง คือ ดิน  น้ำ ลม  ไฟ  (ธาตุ ๔)  
    • กับส่วนที่เป็นนาม คือ จิต เจตสิก  (ขันธ์ ๕ : เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)   
    • ถ้าเห็นสัจธรรมของชีวิตตามธรรมชาติด้วยปัญญาญาณ ย่อมบรรลุถึงพระนิพพาน การดับกิเลสคือการดับทุกข์ได้  
    • ดังนั้น การสวดพระอภิธรรมในงานศพ ย่อมมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เห็นความจริงของชีวิต ตามธรรมชาติหรือธรรมดาดังกล่าวนั้น


๕. เหตุใดจึงนิยมนิมนต์พระ ๔ รูป เท่านั้น  ในการสวดพระอภิธรรมในงานศพ?
  • เนื่องจากพระอภิธรรม โดยสรุป  กล่าวถึงหลักสำคัญ ๔ ประการ คือ 
    • ๑. จิต  
    • ๒. เจตสิก  
    • ๓. รูป  และ  
    • ๔. นิพพาน  
    • ดังนั้น จึงนิยมนิมนต์พระ  ๔  รูป  เท่าจำนวนหลักธรรมดังกล่าว  และพระจำนวน ๔  รูป  ก็ครบองค์สงฆ์พอดี
  • ส่วนทำนองในการสวดพระอภิธรรม ก็มีความแตกต่างกันไป  เช่น ทำนองหลวง  ทำนองของภูมิภาคท้องถิ่น  
  • รวมทั้งบทสวดภาษาบาลี และการสวดแปลเป็นภาษาไทย  ก็ขึ้นอยู่กับขนบธรรมเนียมประเพณีของแต่ละท้องถิ่นหรือภูมิภาคด้วยเช่นกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น